Health

Disease Prevention and Self-Care

การดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ตรวจดีเอ็นเอ ตรวจยีนเพื่อคัดกรองโรคและส่งเสริมสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (Lifestyle intervention) ระบบบริการการแพทย์ทางไกล

KinYooDee Telehealth: แพลตฟอร์มการให้บริการคำปรึกษาด้านสุขภาพ

    • จิตแพทย์ (Psychiatrist)
    • ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ (Sleep Specialist)
    • แพทย์ทั่วไป (General Practitioner)
    • ทันตแพทย์ (Dentist)
    • ที่ปรึกษาด้านพันธุศาสตร์ (Genetic Counselor)
    • เภสัชกร (Pharmacist)
    • นักกำหนดอาหาร (Dietitian)
    • นักกายภาพบำบัด (Physical Therapist)
    • นักจิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychologist)
    • นักโภชนาการ (Nutritionist)
    • นักวิทยาศาสตร์การกีฬา (Sport Scientist)
    • ที่ปรึกษาด้านสุขภาพ (Wellness Counselor)

For Counselor:

    • Active counselor: ต้องลงตารางเวลา timeslots ให้คำปรึกษา ระบบจะแสดง timeslots ให้ผู้ใช้บริการเลือก และทำการ matching ลักษณะของ Active counselor หมายถึง Counselor ที่มีเวลาว่าง สามารถลงตารางเวลาให้คำปรึกษาด้วยตนเอง หรือ Counselor ที่สังกัดคลินิก ศูนย์บริการสุขภาพ หรือโรงพยาบาล ที่มีผู้ช่วยคอยอำนวยความสะดวกลงตารางเวลาให้
    • Passive counselor: ไม่ต้องลงตารางเวลา ผู้ใช้บริการจะเลือก timeslot ที่ต้องการและกดส่ง request ระบบจะส่งอีเมล์ (หรือแจ้งเตือนผ่านแอพฯ KinYooDee) ไปยัง Counselors ในสาขาที่ผู้ใช้ระบุ Counselor ที่ตอบรับ request ลำดับแรก จะได้รับการนัดหมาย
    • Active และ passive counselor: สามารถเลือกการทำงานเพื่อสังคมในรูปแบบ Volunteer นั่นคือ ให้คำปรึกษาฟรี กับกลุ่มเปราะบางและผู้ด้อยโอกาส ซึ่งเป็นบุคคลากรหรือสมาชิกภายในองค์กร อาทิเช่น มูลนิธิ สมาคม หรือภาคีเครือข่าย ที่ KinYooDee Platform มีข้อตกลงไว้เพื่อเป็นกิจกรรมเพื่อสังคม อย่างไรก็ตาม การให้คำปรึกษากับบุคคลากรหรือสมาชิกที่ไม่ใช่กลุ่มเปราะบางหรือผู้ด้อยโอกาส Counselor ยังคงได้รับค่าตอบแทนตามปกติ
    • ระบบจะแสดงค่าตอบแทนให้คำปรึกษาพื้นฐานต่อชั่วโมง (Base Rate/hr) หลังจาก Counselor ได้ลงเบียนและผ่านการอนุมัติแล้ว รวมทั้งค่าตอบแทนพิเศษ (Extra Rate/hr) ที่จะบวกเพิ่มให้กับ Counselor โดยพิจารณาจากหลายปัจจัย อาทิ จำนวนครั้งที่ผู้ใช้เลือก Counselor ซ้ำ คุณภาพในการให้บริการ  เป็นต้น นอกจากนี้ การคิดค่าตอบแทนจะใช้เกณฑ์ 15-min interval นั่นคือ เศษของนาทีที่ไม่ถึง 15 นาที จะถูกปัดขึ้น 15 นาที

ผู้ให้คำปรึกษาที่สนใจ สามารถลงทะเบียน https://dna.kydse.com/login/

For Organization:

For User (Patient):

1.  นัดหมายจากโรงพยาบาล (หรือคลินิค) ถึงผู้ใช้งาน หรือจากผู้ใช้งานถึง รพ.

    • เป็นการส่งการนัดหมายจาก รพ. หลังจากตรวจสุขภาพ เพื่อให้คำปรึกษาเพิ่มเติมไปให้กับผู้ใช้งาน (หรือผู้ป่วย) โดยที่ผู้ใช้งานจะต้องกดเลือก ตารางเวลา (Timeslot) และยืนยันการนัดหมาย
    • กรณีที่ผู้ใช้งานเป็นสมาชิกในสังกัดของ รพ. แล้ว (จะมีชื่อ รพ. หรือคลินิคให้เลือกในแอพฯ) ผู้ใช้งานสามารถส่งความร้องขอการขอนัดหมาย (Request) กับ รพ. โดยที่ผู้ใช้งานจะต้องระบุหัวข้อและรายละเอียด รวมทั้งเบอร์ติดต่อกลับ จากนั้น เมื่อ รพ.​ ได้รับคำขอแล้ว จะติดต่อไปหาผู้ใช้งาน เพื่อทำการนัดวัน เวลา และแจ้งค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ก่อนที่ รพ. จะส่งการนัดหมายไปให้กับผู้ใช้งาน เพื่อกดยอมรับในแอพฯ เพื่อยืนยันอีกครั้งหนึ่ง

2.  ผู้ใช้งานนัดหมายกับผู้ให้คำปรึกษา (Counselor) ประเภทที่ไม่ระบุหน่วยงานที่สังกัด (ทำงานพาร์ทไทม์หรือเป็นฟรีแลนซ์) ทั้งนี้ ผู้ใช้งานจะต้องเป็นสมาชิกขององค์กรหรือเป็นพนักงานของบริษัทใด ๆ อันหนึ่งที่ใช้งานแพลตฟอร์ม KinYooDee Counseling และมี Credits (ที่ได้รับจากบริษัท) ปล. การจัดสรร Credits ให้กับพนักงาน จะเป็นไปตามนโยบายและขั้นตอนภายในของบริษัท

    • สร้างการนัดหมายโดยเลือก Timeslot ของ Counselor ที่ว่างอยู่ในระบบ เมื่อผู้ใช้งานส่งการนัดหมาย ระบบจะยืนยันการนัดหมายให้ทันที และส่งข้อความแจ้งไปให้ Counselor เพื่อให้คำปรึกษาตามเวลาที่นัดหมาย
    • สร้างการนัดหมายโดยกำหนดเวลาเอง (โดยจะสามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ไม่เกิน 1 สัปดาห์) เมื่อผู้ใช้งานสร้างการนัดหมายแล้ว ระบบจะส่งข้อความไปให้ Counselor ที่อยู่ในสาขาที่เลือกทุกคน เมื่อ Counselor คนใดคนหนึ่งกดตอบรับงาน ระบบจะส่งข้อความยืนยันการนัดหมายไปให้ผู้ใช้งานทราบ

KinYooDee Health Score

    • Nutrition: บริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ เน้นความหลากหลายและความสมดุล โดยใช้เครื่องมือวัดคุณภาพ EatScore
    • Water: ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 – 10 แก้ว หรือ ปริมาณ 1.5 – 2 ลิตร เพื่อช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกัน รักษาระดับอุณหภูมิ และขับของเสียออกจากร่างกาย
    • Physical Activity: เคลื่อนไหวร่างกายอย่างปลอดภัย เพิ่มกิจกรรมการออกแรงและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคต่าง ๆ
    • Sleep: นอนหลับอย่างมีคุณภาพ วันละ 7 – 8 ชั่วโมง เพื่อช่วยฟื้นฟูและซ่อมแซมสภาพร่างกาย รวมทั้งช่วยลดความเครียดที่เกิดขึ้นในระหว่างวัน
    • Healthy Weight: น้ำหนักของร่างกายที่เหมาะสมจะช่วยปรับสมดุลร่างกายให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง
    • Stress Reduction: ความเครียดที่สะสม ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ลดความเครียดด้วยการนั่งสมาธิ การไปท่องเที่ยวพักผ่อน ดูหนังฟังเพลง การเล่นกีฬา หรือ การไปสังสรรค์กับเพื่อน ฯลฯ
    • Clean Air: หลีกเลี่ยงหรือจำกัดเวลาในการสัมผัสกับสารเคมี มลพิษทางอากาศ หรือ ฝุ่นละลอง ในที่อยู่อาศัยและสถานที่ทำงาน
    • Health Checkup: ตรวจวัดค่าสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน ค้นหาสาเหตุของปัญหาและประเมินภาวะสุขภาพ รวมทั้งวางแผนประกันสุขภาพให้เหมาะสม

โภชนาการเฉพาะบุคคล

    • KinYooDee: โมบายแอพฯ แนะนำสารอาหารและเมนูอาหารเฉพาะบุคคล กินตามโรค กินตามภาวะสุขภาพ กินตาม DNA
    • MealPlan: ประเมินภาวะโภชนาการ  โภชนบำบัด วิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และวางแผนมื้ออาหาร ให้คำปรึกษาผ่าน in-App Chat  และ KinYooDee counseling (VDO call)

Precision Healthcare ตรวจดีเอ็นเอเพื่อคัดกรองโรคและส่งเสริมสุขภาพ

 

การมีอายุที่ยืนยาวอย่างมีสุขภาพดี ปัจจัยสำคัญมาจากพันธุกรรมที่ถูกถ่ายทอดมาตั้งแต่กำเนิด และปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอก อาทิเช่น อาหาร อากาศ และพฤติกรรมการใช้ชีวิต การตรวจ DNA เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงหรือกลายกลายพันธุ์ในระดับดีเอ็นเอ (การถ่ายทอดทางพันธุกรรม) รวมถึง การตรวจคัดกรองเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงเหนือระดับดีเอ็นเอ (การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม พฤติกรรม และไลฟ์สไตล์) อาทิเช่น Methylation จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญเพื่อช่วยในการส่งเสริมและดูแลสุขภาพแบบแม่นยำ อาทิเช่น อาหารและวิตามิน การออกกำลังกาย ความงาม การแพ้ยาและการปรับยา จุลินทรีย์ในลำไส้ เฉพาะบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อใช้ในการคัดกรอง การรักษา และติดตามอาการ อาทิเช่น โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคไม่ทราบสาเหตุ/โรคหายาก และโรคมะเร็ง อันจะช่วยลดความสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก และลดค่าใช้ในการรักษาพยาบาลลงได้อย่างมหาศาล กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม บริการตรวจ DNA (การกลายพันธุ์ในระดับดีเอ็นเอ ที่มีผลมาจากกรรมพันธุ์) เพื่อคัดกรองโรคและส่งเสริมสุขภาพ

Corporate Wellness:

Corporate wellness, Well-being หรือ Holistic health program – กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม ส่งเสริมสุขภาพพนักงานในองค์กรได้รับการประเมินการตอบสนองของร่างกายต่อสารอาหารและยา การตรวจความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ และการออกกำลังกายที่เหมาะสม รวมทั้งคัดกรองความเสี่ยงในการเกิดโรค โดยมีกระบวนการคัดกรอง วิเคราะห์ และประเมินภาวะสุขภาพให้มีความเหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพื่อให้ทราบถึงภาวะสุขภาพ และนำไปใช้เป็นข้อมูลในการส่งเสริมสุขภาพพนักงาน ซึ่งการดำเนินโครงการ ประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และแอปพลิเคชัน KinYooDee เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของบุคคลากรในองค์กร โดยบันทึก ติดตาม ให้คำปรึกษาผ่านระบบ KinYooDee Telehealth และประเมินข้อมูลสุขภาพองค์รวมของแต่ละบุคคล อาทิเช่น การรับประทานอาหาร การนอนหลับพักผ่อน การออกกำลังกาย การทำกิจกรรมคลายความเครียด การตรวจวัดค่าสุขภาพ ฯลฯ รวมถึง การให้คะแนนสุขภาพผ่าน Eat score และ Health score รวมทั้งการแลกคะแนนสุขภาพ หรือแต้มสุขภาพ “Health point” เพื่อเป็นแรงจูงใจแก่พนักงานที่มีแนวโน้มในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ดีขึ้น

Output:
    • พนักงานมีแนวโน้มการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเข้าสู่ค่าเป้าหมาย (Target) ที่กำหนดให้ของแต่ละบุคคล ในอัตราเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ xx ในแต่ละรอบการประเมิน (xx วัน)
Outcome:
    • พนักงานมีความรอบรู้ด้านสุขภาพแบบแม่นยำ
    • พนักงานดูแลสุขภาพแบบแม่นยำได้ด้วยตัวเอง
    • พนักงานมีสุขภาพกายและใจที่สมบูรณ์แข็งแรง
    • ลดค่าใช้จ่ายในด้านสุขภาพ ลดจำนวนวันลาป่วย
    • เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน
    • เพิ่มความผูกพันธ์ในองค์กร
    • นำเอาความรู้ไปดูแลสุขภาพสมาชิกภายในครอบครัว
    • องค์กรหลีกเลี่ยงและประหยัดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ

Health and wellness dashboard สำหรับองค์กรที่จัดทำรายงานความยั่งยืน SDGs ภายใต้เป้าหมาย “Good health and well-being” หรือรายงาน ESG เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมทางด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

แนวทางการนำนโยบายส่งเสริมสุขภาพพนักงานในองค์กรสู่การปฎิบัติ

    • กำหนดเป้าหมายสุขภาพรายบุคคล โดยประยุกต์ใช้
      • คะแนนสุขภาพ (Health Score) ที่ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหาร กิจกรรมทางกาย การนอน การจัดการความเครียด ฯลฯ
      • ตัวชี้วัดสุขภาพ (Health Indicator) เช่น BMI เส้นรอบเอว ความดันโลหิต ไขมัน ให้อยู่ในระดับปกติ
      • จำนวนวันลาป่วยลดลง หรือไม่มีประวัติภาวะเจ็บป่วยที่ต้องหยุดงาน
    • ให้ Incentive และ Reward เพื่อจูงใจพนักงานให้รักษาสุขภาพ

References:

    • BMJ Nutrition Prevention & Health (2020) พบว่า การทราบผลการตรวจโภชนพันธุศาสตร์ (Nutrigenomics) หรือยีนที่ตอบสนองต่อสารอาหารของแต่ละบุคคล จะช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติการรับประทานที่เหมาะสมได้ในระยะยาว (มากกว่า 12 เดือน) เมื่อเปรียบเทียบกับ โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยไม่ทราบข้อมูลด้านโภชนพันธุศาสตร์ ซึ่งบุคคลจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้เพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ (3 เดือน) แล้วกลับไปมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารแบบเดิม
    • The New England Journal of Medicine (2015) พบว่า การลดคอเลสเตอรอลลงทุก ๆ 1% สามารถช่วยลดการเกิดโรคหัวใจหรือภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ถึง 3%
    • The Journal Population Health Research (2022) พบว่า พนักงานในองค์กรที่มีพฤติกรรมการรับทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และการมีสุขภาพองค์รวม (Whole body wellness) ที่ไม่ดี จะส่งผลให้ทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพมากถึง 66% และ 77% ตามลำดับ
    • จากผลงานวิจัยจำนวนมาก พบว่า ความสามารถในการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของพนักงานขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของโปรแกรมการดูแลสุขภาพพนักงาน เพียงแค่การให้สวัสดิการเพื่อส่งเสริมให้พนักงานออกกำลังกาย การจัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาประจำปี หรือ การตรวจสุขภาพประจำปี “ไม่เพียงพอต่อการทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของพนักงานลดลง” ดังนั้น การจัดโปรแกรมดูแลสุขภาพพนักงานแบบองค์รวม หรือการสร้างสุขภาวะในองค์กร (Happy workplace) ทั้งในด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน การจัดการความเครียด และการจัดการสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี ในระยะยาวจะช่วยให้องค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพได้มากกว่า ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดด้านความคุ้มค่าในการลงทุนโปรแกรมดูแลสุขภาพพนักงานพบว่า สามารถช่วยองค์กรได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนด้านสุขภาพพนักงานมากถึง 300%