ชุดตรวจดีเอ็นเอเพื่อคัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและอัลไซเมอร์
โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Vascular Disease: CVD) : การกลายพันธุ์ของยีน MTHFR ส่งผลกระทบต่อการเผาผลาญโฟเลต (ร่างกายใช้ประโยชน์จากโฟเลตได้ไม่เต็มที่) ทำให้ระดับโฮโมซิสเตอีนในเลือดสูงขึ้น โฮโมซิสเตอีนระดับสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เพราะทำให้หลอดเลือดอักเสบและแข็งตัว
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) : การตรวจยีน ApoE รูปแบบ e4 สามารถระบุความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ได้ โดยงานวิจัยทางการแพทย์แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่มียีนนี้จะมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป 3-12 เท่า ยีน ApoE คือ ยีนที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งไขมันในสมอง มีหลายรูปแบบ แต่รูปแบบ e4 เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ โดยที่ คนที่มี APOE e4 1 ชุด จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น 3-4 เท่า และคนที่มี ApoE e4 2 ชุด จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น 8-12 เท่า โดยทั่วไป ประมาณ 20-25% ของประชากรจะมียีนนี้
โฮโมซิสเตอีน (Homocysteine) : วิตามินบี12, บี6 และโฟเลต (หรือวิตามิน B9) ช่วยย่อยสลายโฮโมซิสเตอีนเพื่อสร้างสารที่ร่างกายต้องการ หากระดับโฮโมซิสเตอีนสูงอาจบ่งชี้ว่าขาดวิตามินเหล่านี้ โฮโมซิสเตอีน คือสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในร่างกาย แต่ต้องถูกเปลี่ยนเป็นสารอื่นที่มีประโยชน์ วิตามิน B12, B6 และโฟเลต ทำหน้าที่เป็น “เครื่องมือ” ช่วยเปลี่ยนโฮโมซิสเตอีนให้เป็นสารที่ร่างกายใช้ได้ เช่น เมไทโอนีน (สำหรับซ่อมแซมเซลล์) และซิสเตอีน (สำหรับต้านอนุมูลอิสระ) เมื่อขาดวิตามิน (B12, B6, B9) กระบวนการเปลี่ยนโฟโมซิสเตอีนทำงานไม่เต็มที่ โฮโมซิสเตอีนสะสมในเลือดในระดับสูงขึ้น และเมื่อโฮโมซิสเตอีนสูง เป็นสัญญาณเตือนว่าอาจขาดวิตามินบี ข้อควรระวัง หากระดับโฮโมซิสเตอีนสูง >15 μmol/L ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและวางแผนการรักษา
หากท่านสนใจการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันและดูแลสุขภาพแม่นยำ สามารถสั่งชุดเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากกระพุ้งแก้ม (Buccal swab) ได้ที่ แอปพลิเคชัน KinYooDee : Home > Shop > ชุดตรวจ จากลิงค์ใน comments ด้านล่าง หรือที่ กินอยู่ดี Shop โดยการวิเคราะห์และแปลผลตรวจทางพันธุกรรม จากศูนย์ปฏิบัติการทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสากล
*รายงานผลตรวจ ภายในระยะเวลา 14 วัน และมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางให้คำปรึกษาผ่านวีดีโอคอล 15-30 นาที
#ดีเอ็นเอ #อัลไซเมอร์ #หลอดเลือดหัวใจ #ดูแลสุขภาพแม่นยำ #กินอยู่ดี
ที่มารูป : drhagmeyer