Prebiotics

Gut-Brain Axis and Prebiotic Fiber

ที่ว่ากันว่า “ลำไส้คือสมองที่สองของร่างกาย” เนื่องจากลำไส้มีเซลล์ประสาทมากกว่า 500 ล้านเซลล์ สุขภาพลำไส้ที่ดี คือสุขภาพสมองที่ดี เพราะเป็นแหล่งผลิตสารสื่อประสาทหรือฮอร์โมนอย่าง “เซโรโทนิน” มากถึง 90% และ “โดปามีน” 50% ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบประสาทที่ทำให้รู้สึกดี

Gut-Brain Axis คือการติดต่อสื่อสารระหว่างลำไส้และสมองแบบสองทิศทางผ่านเส้นประสาทเวกัส (Vegus nerve) นั่นก็หมายความว่า สุขภาพลำไส้ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพสมอง และสุขภาพสมองก็ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพลำไส้เช่นเดียวกัน สุขภาพลำไส้ที่ดีคือความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ (Probiotics) ที่หมักหรือย่อยสลายสารอาหารที่ร่างกายย่อยไม่ได้ (Prebiotic) หรือเข้าใจง่าย ๆ คือ โพรไบโอติกส์ คือ จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในร่างกาย และพรีไบโอติกส์ คือ อาหารของจุลินทรีย์นั้น ซึ่งเกิดการหมักหรือเผาผลาญจนได้สารอาหารต่าง ๆ เช่น กรดไขมันสายสั้น (SCFAs) ที่ช่วยปรับความเข้มข้นของสารสื่อประสาท (เซโรโทนิน กลูตาเมต และกาบา)ารสื่อประสาท ับสมองที่ทมำอสมองที่ดี เ และกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนในลำไส้ (GLP-1 Peptide YY และ Ghrelin)

ความสัมพันธ์ของลำไส้กับสมอง และจุลินทรีย์ในลำไส้

เคยสังเกตไหมว่า เรามักจะรู้สึกมวนท้อง ท้องผูก หรือท้องไส้ปั่นป่วน เมื่อมีความรู้สึกกังวล ตื่นเต้น หรือเครียดมากเกินไป ความรู้สึกอิ่ม รู้สึกอารมร์ดีขึ้น มีความสุข สัญญาณเหล่านี้เกิดจากการทำงานของกันและกันระหว่างลำไส้และสมอง สมองที่ได้รับความเครียดจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของลำไส้ลดลง ทำให้มีอารมณ์ความรู้สึกแย่ หงุดหงิด ซึมเศร้า หรือการรับประทานอาหารที่รบกวนสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ เช่น อาหารที่มีน้ำตาลสูง ของมัน ของทอด ก็ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองเช่นเดียวกัน

การทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System: CNS) จะส่งถึงระบบประสาทลำไส้ (Enteric Nervous System: ENS) ผ่านเส้นประสาท Vegus โดยเฉพาะการทำงานของจุลินทรีย์ในกลุ่ม Bifidobacterium และ Lactobacillus spp. ที่ทำหน้าที่หมักหรือย่อยสลายพรีไบโอติกส์ (หรือไฟเบอร์) ให้ เป็นกรดไขมันสายสั้น (SCFAs) เช่น Acetate Butyrate และ Propionate (ซึ่งมีอยู่ประมาณ 95% ของ SCFAs ในร่างกาย) ซึ่งทำหน้าที่สื่อสารกับสมอง กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ที่ช่วยควบคุมอารมณ์และลดความเครียด ส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกัน และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน อ้วนลงพุง โรคหลอดเลือดหัวใจ และมะเร็ง เป็นต้น

ในประเทศไทย เพื่อความปลอดภัยในการใช้ประโยชน์จากโพรไบโอติกส์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ได้ระบุถึงสายพันธุ์ของโพรไบโอติกส์ที่อนุญาตให้ใช้อาหารเสริมในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ในอาหาร รวมทั้งหมด 23 สายพันธุ์

สายพันธุ์ของโพรไบโอติกที่มีรายชื่อในบัญชีประกาศของ อย.

บาซิลลัส โคแอกกูแลน (Bacillus coagulans)
บิฟิ โดแบคทีเรียม อะโดเลสเซนทิส (Bifidibacterium adolescentis)
บิฟิ โดแบคทีเรียม อะนิมอลิส (Bifidobacterium animalis)
บิฟิ โดแบคทีเรียม บิฟิ ดัม (Bifidobacterium bifidum)
บิฟิ โดแบคทีเรียม เบรเว (Bifidobacterium breve)
บิฟิ โดแบคทีเรียม อินฟานทิส (Bifidobacterium infantis)
บิฟิ โดแบคทีเรียม แล็กทิส (Bifidobacterium lactis)
บิฟิ โดแบคทีเรียม ลองกัม (Bifidobacterium longum)
บิฟิ โดแบคทีเรียม ซูโดลองกัม (Bifidobacterium pseudolongum)
เอ็นเทอโรค็อกคัส ดูแรน (Enterococcus durans)
เอ็นเทอโรค็อกคัส เฟเซียม (Enterococcus faecium)
แล็กโทบาซิลลัส แอซิโดฟิ ลัส (Lactobacillus acidophilus)
แล็กโทบาซิลลัส คริสปาทัส (Lactobacillus crispatus)
แล็กโทบาซิลลัส แก็สเซอรี (Lactobacillus gasseri)
แล็กโทบาซิลลัส จอห์นโซนอิ (Lactobacillus johnsonii)
แล็กโทบาซิลลัส พาราคาเซอิ (Lactobacillus paracasei)
แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี (Lactobacillus reuteri)
แล็กโทบาซิลลัส รามโนซัส (Lactobacillus rhamnosus)
แล็กโทบาซิลลัส ซาลิวาเรียส (Lactobacillus salivarius)
แล็กโทบาซิลลัส ซีอี (Lactobacillus zeae)
โพรพิโอนิแบคทีเรียม อะราไบโนซัม (Propionibacterium arabinosum)
สแตปฟิ โลคอคคัส ไซน์ยูรี (Staphylococcus sciuri)
แซ็กคาโรไมซีส เซรีวิซิอีสับสปี ชีย์ บัวลาดิอิ (Saccharomyces cerevisiae subsp. Boulardii)

ส่วน พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คือ คาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายไม่สาสมารถย่อยได้ หรือที่เข้าใจกันว่า “ไฟเบอร์ หรือใยอาหาร” นั่นเอง ว่ากันว่าเป็นอาหารของจุลินทรีย์ในลำไส้ จุลินทรีย์ในลำไส้จะทำงานได้ดีต้องได้รับอาหารกระตุ้น (Prebiotics) ซึ่งได้จากการรับประทานเท่านั้น โดยเฉพาะอาหารที่มีไฟเบอร์สูง (เป็นสารตั้งต้นของการหมักจุลินทรีย์) พบได้ในพืชผักและผลไม้เป็นส่วนใหญ่

ตัวอย่างแหล่งอาหารที่มีใยอาหาร (Prebiotic Fiber) สูง

แหล่งอาหาร ปริมาณไฟเบอร์/ 100 กรัม แหล่งอาหาร ปริมาณไฟเบอร์/ 100 กรัม
เมล็ดเจีย 35 เสาวรส 10
เกล็ดมะพร้าว 14 อะโวคาโด 7
อัลมอนด์ 13 ราสเบอร์รี่ 6
ดาร์กช็อคโกแลต 70-85% 11 ฝรั่ง 5
ข้าวโอ๊ต 10 มะขาม 5
เคล 6 ทับทิม 4
ผักกะเฉด 5 กล้วย 3
คะน้า 4 ส้ม 3
แครอท 4 แอปเปิ้ล 2.4
ถั่วฝักยาว 3.8 มะละกอ 2
บล็อคโคลี่ 3.5 สตรอเบอร์รี่ 2
กระเจี๊ยบ 3.2 สัปปะรด 1.6
ผักบุ้ง 2.8 แตงโม 0.4
กระเทียม 2.7    
กรีนโอ๊ค 2    

ความหลากหลายของจุลินทรีย์ในลำไส้และความต้องการสารอาหารที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล การดูแลรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้จึงทำได้โดยการทานใยอาหารหรือไฟเบอร์จากอาหารหลากหลายชนิด เพื่อป้องกันการขาดจุลินทรีย์ตัวใดตัวหนึ่ง รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารที่มีแป้ง น้ำตาลและไขมันสูง ซึ่งทำให้เกิดภาวะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ ส่งผลต่ออารมณ์ ภูมิคุ้มกัน และสุขภาพโดยรวม นอกจากนี้ ควรเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมโพรไบโอติกส์ที่ประกอบด้วยหลากหลายสายพันธุ์ควบคู่กับพรีไบโอติกส์ ความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ที่เปลี่ยนแปลงสามารถสังเกตได้ด้วยตนเองจากระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย การมีลมหรือแก๊สในท้อง รวมถึงอารมณ์ความรู้สึกที่ดีขึ้น ความมั่นคงทางอารมณ์ หรือควบคุมความเครียดได้ดีมากขึ้น ซึ่งจากหลายผลรายงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า จุลินทรีย์ในลำไส้มีผลต่อการทำงานของสมอง อารมณ์และอาการซึมเศร้า

เพราะ “ลำไส้คือสมองที่สองของร่างกาย” ความอ่อนแอของลำไส้จึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง อย่างที่เคยได้ยินว่า “สุขภาพที่ดีเริ่มที่ลำไส้” ไม่ว่าจะเป็นระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีจุลินทรีย์ที่เปรียบเสมือนอีกหนึ่งอวัยวะสำคัญของร่างกาย สิ่งสำคัญคือความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ จากการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะการรับประทานใยอาหารให้เพียงพอ ไม่น้อยกว่า 25 กรัม/วัน รวมทั้งควรบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยสารโพลีฟีนอล (จากผักผลไม้) กรดไขมันโอเมก้า 3 กลูตามีน เคอร์คิวมิน (ขมิ้น) สังกะสี และวิตามินดี ซึ่งจะช่วยซ่อมแซมการอักเสบจากการทำงานของลำไส้ และหลีกเลี่ยงความเครียดทั้งทางร่างกายและอารมณ์ งดการสูบบุหรี่ รวมถึงพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อความแข็งแรงของสุขภาพลำไส้

ที่มารูป : FoodUnfolded