ร่วมออกบูธงานคนบางแสนรักษ์สุขภาพ Bangsaen Health Festival, 27-28 Jan 2023 @เทศบาลเมืองแสนสุข
DNA TEST KIT – ESSENTIAL
DNA TEST KIT – ESSENTIAL เพื่อส่งเสริมสุขภาพและตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากปัจจัยทางพันธุกรรม Food x Fitness x Microbiome x Drug x Health x Cancer – KinYooDee Precision Healthcare
#ตรวจยีน #ตรวจ DNA
Traffic Alert
Mobility – Traffic Alert แนวคิดง่าย ๆ เหมือนตั้งนาฬิกาปลุก เลือกเส้นทาง ตั้งเวลา เตือนก่อนติด เพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทาง Download our App (ios) https://www.kydse.com/kinyoodee/
เหมาะกับการใช้งาน :
-
- เส้นทางประจำ จากบ้านไปที่ทำงาน
- เส้นทางที่คาดเดาสภาพจราจรยาก
- มีความเสี่ยงจราจรติดขัด
- เมื่อจราจรติดขัด มีทางเลือกไปใช้เส้นทางอื่นได้
- ช่วงของเส้นทางควรมีระยะทาง 3- 5 กม.
KinYooDee Traffic AI Data Fusion
Food Image Recognition
KinYooDee FoodLens – Food Image Recognition โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
-
- เพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกขั้นตอน Food logging – ถ่ายรูปจากโทรศัพท์ หรือผ่านแว่นตาอัจฉริยะ
- แจ้งเตือนอาหารที่ส่งผลดีและ/หรือผลเสียต่อสุขภาพของแต่ละบุคคล
- รายงานปริมาณอาหารที่ผู้ป่วยทานเหลือ ใน รพ./ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
- ช่วยร้านอาหารและครัวโรงแรม บริหารสต็อกวัตถุดิบอัตโนมัติ และ
- จัดทำฐานข้อมูล พืชอาหารและสมุนไพร (อนุรักษ์พันธุ์พืช)
Subscription Model
ระบบสมัครสมาชิกเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าและบริการที่ต้องการเป็นประจำ รายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปี ในราคาที่ประหยัดกว่า
Social Enterprise
วันที่ 30 กันยายน 2565 กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม ได้รับการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) จากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ประเภท วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ประสงค์จะแบ่งปันกำไรให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น ทะเบียนเลขที่ 215
Lactose Intolerance
บางคนดื่มนมแล้วอาจมีอาการท้องเสีย มีลมในท้อง ปวดบริเวณช่องท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้ อาจจะมีสาเหตุมาจากร่างกายที่ไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสที่อยู่ในนม รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากนมได้
น้ำตาลแลคโตส ช่วยร่างกายในการดูดซึมแคลเซียมในนม ซึ่งส่งเสริมให้กระดูกและฟันมีสุขภาพดี นอกจากนี้ แลคโตสยังมีน้ำตาลกาแล็กโทส (Galactose) หรือเรียกว่า น้ำตาลสมอง เป็นองค์ประกอบ มีส่วนช่วยในการทำงานของสมองและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
ปัญหาในการเผาผลาญน้ำตาลในนม หรือแลคโตสทำให้เกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ซึ่งมาจาก 2 สาเหตุหลัก สาเหตุแรกเกิดจากยีน LCT ไม่สามารถสร้างเอ็นไซม์ Lactase (หรือสร้างได้น้อย) สำหรับใช้ในการย่อยน้ำตาลแลคโตสที่อยู่ในนม และ/หรือจาก ยีน MCM6 ที่ควบคุมการทำงานของยีน LCT อีกต่อหนึ่ง มีประสิทธิภาพลดลง จากข้อมูลมนุษยพันธุศาสตร์ คนเอเชียตะวันออก (East Asia) ร้อยละ 70 ที่มีการกลายพันธุ์ของยีนดังกล่าวที่ไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ชาวตะวันตก เพียงร้อยละ 10-20 ที่พบสภาวะไม่ทนน้ำตาลแลคโตส)
สาเหตุที่ 2 ของสภาวะไม่ทนน้ำตาลแลคโตส เกิดจากความผิดปกติของลำไส้ การบาดเจ็บ หรือการเจ็บป่วยทำให้สูญเสียความสามารถในการเผาผลาญแลคโตสชั่วคราว โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็ก สังเกตด้วยว่า
ผู้ที่แพ้กลูเตน (Celiac Disease) โดยส่วนใหญ่จะมีสภาวะไม่ทนน้ำตาลแลคโตสร่วมด้วยเช่นกัน และสภาวะไม่ทนน้ำตาลแลตโตสจะแตกต่างจากอาการแพ้นม ที่เกิดจากภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่สามารถต่อต้านโปรตีนในนม และอาจจะเกิดอาการแพ้ที่รุนแรงกว่า ในกรณีสภาวะไม่ทนน้ำตาลแลตโตส
นอกจากนี้ ภาวะการไม่ทนน้ำตาลแลตโตส อาจเกิดขึ้นหลังจากผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติหรืออาหารเจ ในช่วงระเวลาหนึ่ง และเปลี่ยนกลับมารับประทานอาหารปกติ เนื่องจากยีน LCT ที่สร้างเอ็นไซม์ในการย่อยน้ำตาลแลตโตสอาจจะหยุดทำงานชั่วคราว ในช่วงที่ร่างกายไม่จำเป็นต้องใช้งาน นอกจากนี้ แบคทีเรียในลำไส้ยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตส นมและผลิตภัณฑ์จากนมที่รับประทานเข้าไปจะมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของแบคทีเรียเหล่านี้ นั่นเป็นเหตุผลว่า ทำไมบางคนเมื่อตรวจพันธุกรรมแล้วมีภาวะการไม่ทนน้ำตาลแลคโตส แต่ยังสามารถดื่มนมได้วันละประมาณ 1-2 แก้ว โดยไม่เกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีภาวะการไม่ทนน้ำตาลแลตโตส และมีอาการที่ไม่พึงประสงค์ ควรบริโภคนมและผลิตภัณฑ์จากนมที่ปราศจากแลคโตส (Lactose-free) รวมทั้งเสริมอาหารประเภทอื่นที่อุดมด้วยแคลเซียมและวิตามินดี เพื่อทดแทนการดื่มนม
ที่มารูป : LiverDoctor
KYD Online Counseling
อีกหนึ่ง Jigsaw ในระบบนิเวศของเรา KYD Online Counseling แพลตฟอร์มการให้บริการคำปรึกษาด้านสุขภาพสำหรับบุคคลากรในองค์กร – Counselor กับ Patient พบกันในแพลตฟอร์ม Anywhere, Anytime, Any devices > ตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคผ่านระบบ Health-Risk Screening, Medical AI, Smart Healthcare/Device >> สั่งจ่ายยาและเวชภัณฑ์ผ่าน KinYooDee Logistics และ SmartLocker ของเรา – ที่ปรึกษาด้านพันธุศาสตร์ (Genetic Counselor)
-
- นักกำหนดอาหาร (Dietitian)
- นักกายภาพบำบัด (Physical Therapist)
- นักจิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychologist)
- นักโภชนาการ (Nutritionist)
- นักวิทยาศาสตร์การกีฬา (Sport Scientist)
- ที่ปรึกษาด้านสุขภาพ (Wellness Counselor)
*ผู้ที่สนใจเป็นผู้ให้คำปรึกษา สามารถลงทะเบียนได้ ที่นี่
Health Score
คะแนนสุขภาพ เก็บสะสมคะแนนเพื่อแลกของรางวัล ง่าย ๆ เพียงแค่คลิก … ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคอมมูนิตี้สุขภาพดีกับเรา แอปพลิเคชันในการประเมินและส่งเสริมสุขภาพองค์รวม {Food, Activity, Sleep, Stress, Clean Air, Checkup} Download our Supper Apps #KinYooDee
Home > Activivity Log > HealthScore > HealthPoint > Redeem
Vitamin C Deficiency
การขาดการเอาใจใส่ต่อสุขภาพ ส่งผลต่อภาวะการขาดวิตามินซี
วิตามินซี (Vitamin C) เป็นหนึ่งในวิตามินที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกายมากที่สุด ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับผ่านทางอาหารหรืออาหารเสริมเท่านั้น ภาวะการขาดวิตามินซีพบได้น้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้โดยขาดการเอาใจใส่ต่อสุขภาพ อาทิเช่น
-
- การขาดภาวะโภชนาการที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อไม่ได้รับประทานผักและผลไม้เป็นประจำทุกวัน นอกจากนี้ สังเกตด้วยว่า ภาวะการขาดวิตามินซี อาจจะแปรผันตามฤดูกาล เช่น ในช่วงฤดูหนาว ร่างกายจะมีระดับวิตามินซี สูงกว่าฤดูร้อน เนื่องจากในฤดูหนาว จะมีผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามินซีหลากหลายชนิดให้รับประทาน เช่น ฝรั่ง ส้ม สตรอว์เบอรี่ เลมอน เป็นต้น
- วิธีการปรุงอาหารที่ไม่ถูกต้อง (Over-cooking) เนื่องจากวิตามินซีถูกทำลายได้โดยง่ายเมื่อได้รับความร้อน ยกตัวอย่างเช่น การประกอบอาหารด้วยความร้อน เป็นระยะเวลา 30 นาที จะทำให้สูญเสียวิตามินซีมากถึง 80% นอกจากนี้ วิตามินซี ยังมีคุณสมบัติละลายน้ำ การใช้น้ำในการหุงต้ม หรือลวก จะทำให้วิตามินซีละลายออกมาในน้ำ เพิ่มการสูญเสียมากขึ้น
- คนที่สูบบุหรี่ หรือผู้อยู่รอบข้าง มีความต้องการวิตามินซีมากกว่าปกติ เพื่อใช้ในการซ่อมแซมเซลล์ที่ได้รับความเสียหายจากควันบุหรี่ รวมทั้งผู้ที่ทำงานใกล้ชิดกับควันไฟ
- ปัญหาสุขภาพ อาทิเช่น โรคไต มะเร็ง โรคผอมแห้ง ส่งผลให้ร่างกายดูดซึมวิตามินซีจากอาหารได้ลดลง
- ปัจจัยทางพันธุกรรม โดยมียีน SLC23A1 และ SLC23A2 ที่ทำหน้าที่ควบคุมการดูดซึมวิตามินซี ผิดปกติ หรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ วิตามินซีที่ได้รับจากอาหารหรืออาหารเสริมจะไม่ถูกดูดซึมเข้าร่างกาย และถูกขับออกทางปัสสาวะ
- วิตามินซี ไม่ได้ถูกจัดเก็บในร่างกายได้เป็นเวลานาน ดังนั้น จึงควรรับประทานผักและผลไม้ เป็นประจำทุกวัน
ผู้ที่ขาดวิตามินซีจะมีระดับวิตามินซีในพลาสมาหรือซีรัม น้อยกว่า 2 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และมีลักษณะที่สังเกตได้เด่นชัดคือ มีอาการเลือดออกตามไรฟัน รวมทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเกาต์ และมะเร็งกะเพาะอาหาร
ยังเป็นข้อโต้แย้งถึงประโยชน์ของวิตามินซีในการรักษาไข้หวัด อย่างไรก็ตาม งานวิจัยจำนวนมากได้แสดงให้เห็นว่า วิตามินซีไม่ได้ช่วยรักษาโรคหวัด แต่ถ้าร่างกายได้รับวิตามินซีเป็นประจำสม่ำเสมอทุกวัน จะช่วยป้องกันและช่วยให้โรคหวัดมีอาการน้อยลง รวมทั้งหายได้เร็วขึ้น ประโยชน์ของวิตามินซี สามารถสรุปได้ ดังนี้
-
- ช่วยรักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน
- ช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ ช่วยสมานแผน
- ช่วยสังเคราะห์คอลลาเจน ทำให้ผิวสวยสดใส สุขภาพดี
- ช่วยป้องกันและลดอาการไข้หวัด เมื่อได้รับวิตามินซีอย่างสม่ำเสมอทุกวัน
- ช่วยลดการติดเชื้อ สร้างภูมิคุ้มกัน
- ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในระดับรุนแรง
- ช่วยสร้างฮอร์โมนที่สำคัญต่อสมอง
- ช่วยดูดซึมธาตุเหล็กและทองแดง
คำแนะนำทั่วไป ชายและหญิงวัยเจริญพันธุ์ควรได้รับวิตามินซีในปริมาณ 90 และ 75 มิลลิกรัมต่อวัน และคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรควรได้รับอย่างน้อยวันละ 85 และ 120 มิลลิกรัม รวมทั้งผู้ที่สูบบุหรี่ ควรได้รับเพิ่มขึ้นจากปกติ 35 มิลลิกรัมต่อวัน สังเกตด้วยว่า การได้รับวิตามินซีที่มากเกินไป (ในปริมาณไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน) ยังไม่มีรายงานว่า ส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยร่างกายมีกลไกการขับวิตามินซีส่วนเกินออกทางปัสสาวะ อย่างไรก็ตาม การได้รับวิตามินซีในปริมาณที่มากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อประสิทธิภาพการทำงานของไต อาหารที่มีอุดมด้วยวิตามินซี ยกตัวอย่างเช่น ในปริมาณ 100 กรัม ฝรั่ง จะมีวิตามินซี 230 มิลลิกรัม พริกหวาน (200) คะน้า (90) กีวี (75) ส้ม (60) บร็อกโคลี่ (60) มะละกอ (60) สตรอว์เบอรี่ (60) สับปะรด (50) เลมอน (45) มะนาว (30) แก้วมังกร (20) และแครอท (6) เป็นต้น
ที่มารูป : Healthline