MOU

2 พฤษภาคม 2565 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย โดยนายแพทย์วัชรพงษ์ คำหล้า นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย ลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสาธารณสุขผ่านระบบเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่างสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย และกลุ่มบริษัท กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม

การลงนามในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาศูนย์เรียนรู้และระบบแพลตฟอร์มด้านสุขภาพ สำหรับการดูแลสุขภาพของบุคลากรสาธารณสุข การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และการดูแลสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัย ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุข และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในด้านการดูแลสุขภาพ ทักษะในด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และด้านอื่น ๆ ที่จะนำมาขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศ ต่อไป

ที่มา: หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นนิวส์

Agri-food ecommerce

แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสินค้าเกษตร

ความท้าทายในการออกแบบและพัฒนา กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม ให้สามารถรองรับการขายสินค้าเกษตรผ่านระบบอีคอมเมิร์ซ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร ประเภทผักสด ผลไม้ ของสด ประมงพื้นบ้าน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การผลิตเพื่อความพอมี พอกิน พอใช้ ก่อน และส่วนที่เหลือนำมาแบ่งปัน หรือขายให้กับผู้บริโภค ดังนั้น เราจึงไม่ทราบว่า สัปดาห์นี้จะมีสินค้าอะไรขายบ้าง และมีปริมาณเท่าไหร่ รวมทั้ง อาจไม่สามารถรู้ข้อมูลล่วงหน้า ตามกำหนดเวลาที่แน่นอนได้ ?

ทีมงานได้ออกแบบและพัฒนา กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม ผ่าน โมบายแอปพลิเคชัน KinYooDee ให้สามารถรองรับกับวิถีดังกล่าว โดย วิสาหกิจเพื่อสังคม วิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มเกษตรกร สามารถส่งข้อมูลรายการสินค้าและปริมาณที่จะขายเข้ามาในระบบ เพื่อให้ระบบทำการเปิดการขาย และปิดการขาย โดยอัตโนมัติ เมื่อสินค้ารายการนั้น ๆ ถูกขายออกไปและมีปริมาณสต็อกเท่ากับศูนย์ หรือปิดการขายเมื่อสินค้านั้น ๆ ถึงเวลา Cut-off time ที่ถูกตั้งค่าไว้ล่วงหน้า หลังจากนั้น ระบบแพลตฟอร์ม จะทำการตัดสต็อกของสินค้าที่คงเหลืออยู่ให้เป็นศูนย์ เพื่อรอรับข้อมูลรายการและปริมาณสินค้าที่ส่งมาเพื่อเปิดการขาย ในรอบถัดไป

KinYooDee Platform Feature Release: 2020-04-29

Thamturakit

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การพัฒนาโครงการเกษตรและอาหารปลอดภัย ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ระหว่าง บริษัท ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด และ กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ ทำขึ้นเมื่อวันที่ ….๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕…. ระหว่าง บริษัท ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด โดย นายพิเชษฐ โตนิติวงศ์ ตำแหน่ง ผู้จัดการไปทั่ว สำนักงานตั้งอยู่ที่ ๘/๒ หมู่ที่ ๔ ตำบลดอนฉิมพลี อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ๒๔๑๗๐
กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม โดย นายณกร อินทร์พยุง ตำแหน่งที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมและพัฒนาธุรกิจ สำนักงานตั้งอยู่ที่ ๗๙/๕๒๘ ถนนแสนสุข ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ๒๐๑๓๐ โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โดยมีสาระสำคัญดังนี้

๑) ร่วมกันสนับสนุนโครงการเกษตรและอาหารปลอดภัย การปลูกและผลิตสินค้าแบบธรรมชาติโดยปราศจากสารเคมี ให้พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

๒) ร่วมกันพัฒนาระบบบริหารจัดการซัพพลายเชน ระหว่าง คนกิน กับ คนปลูก และคนกลางคือ บริษัท ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด และ กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม โดย คนกินสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม กินอยู่ดี แล้ว บริษัท ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด เป็นผู้ส่งมอบผลผลิตจากเครือข่ายศิษย์ยักษ์กะโจน

๓) ร่วมมือกับส่วนราชการและองค์กรอื่น ๆ ในการสร้างภาคีเครือข่าย เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานทางธุรกิจเพื่อสังคม อย่างยั่งยืน

นายพิเชษฐ โตนิติวงศ์
ผู้จัดการไปทั่ว บริษัท ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด

นายณกร อินทร์พยุง
ที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมและพัฒนาธุรกิจ กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม

นายธันยวรวรรธน์ เฉลิมพัฒนาสุข
บริษัท ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด

นางสาวณภัค กิตติญาณนนท์
กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม

Private Store

แสดงสินค้าบางรายการ เฉพาะกลุ่มลูกค้า (Private Store) อาทิ สินค้าอ่อนไหว เครื่องดื่ม xx ยาตามใบสั่งแพทย์ สินค้าพิเศษเฉพาะสมาชิก ไอเท็มลับ ยกตัวอย่าง การประยุกต์ใช้งาน KinYooDee Private Store สำหรับจัดส่งวัตถุดิบอาหาร เฉพาะกลุ่มลูกค้า โรงพยาบาล ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ โรงแรมและรีสอร์ท ครัวกลาง (Catering)

#กินอยู่ดี

Eat Score

Eat Score เครื่องมือวัดคุณภาพการกิน (เต็ม 100)
• มากกว่า 80 -> Good diet
• 51 ถึง 80 -> Need dietary improvement
• น้อยกว่า 51 -> Poor

” โหลดแอพฯ KinYooDee ”

กินอยู่ดี แพลฟอร์ม ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้คนไทยสุขภาพดี
#กินอยู่ดี #EatScore #DietScore

App2022

Our KinYooDee App Development 2022 – Eat and Live Well

#Shop

ซื้อสินค้าเกษตร ผักสด ผลไม้ #ของสด อาหาร สินค้าเพื่อสุขภาพ จากเครือข่ายเกษตรกร บริหาร Food Supply Chain ผ่านศูนย์กระจายสินค้าชุมชน DC Platform

#Groupbuy

รวมกลุ่มกันซื้อประหยัดกว่า

#Sameday

จัดส่งสินค้าภายใน 1 วัน ภายในพื้นทีให้บริการ ผ่านตู้ล็อกเกอร์แช่เย็น #FreshBOX ตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ

#Subscribe

เพิ่มความสะดวกสบาย และได้สินค้าในราคาที่คุ้มค่าสำหรับสมาชิก

#Wallet

กระเป๋าเงินในรูปแบบ Utility token (เหรียญปลานิล) เฉพาะกลุ่มสมาชิกและพันธมิตรทางธุรกิจ Consortium Blockchain

#FoodLog

บันทึกสุขภาพ #นับแคล ข้อมูลสารอาหาร กิจกรรม #EatScore ภาวะสุขภาพ

#Nutrition

ข้อมูลโภชนาการเฉพาะบุคคล DNA-based diet

#SmartMobility

ผู้ช่วยการเดินทางอัจฉริยะ

#AIScan

Eating Index

ตัวชี้วัดในการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
 
ความพยายามของระบบสาธารณสุขทั่วโลก ต้องการให้ประชาชนในประเทศมีสุขภาพดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการรับประทานอาหาร และได้สร้างเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะช่วยแนะนำและประเมินการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อาทิเช่น อาหารหลัก 5 หมู่ Food Pyramid, Dash Diet, Recommended Food Score (RFS), Mediterranean Diet Score (MDS), Healthy Diet Indicator (HDI), Health Eating Index (HEI) และ MyPlate เป็นต้น ทั้งนี้ ทุกตัวชี้วัดจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน คือ ความครบถ้วนของสารอาหารที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน รวมทั้ง สัดส่วนระหว่างการบริโภคเนื้อสัตว์และผักผลไม้ที่เหมาะสม ซึ่งแต่ละตัวชี้วัดจะมีรายละเอียดของสารอาหารและปริมาณที่แนะนำในการบริโภค และวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งานแตกต่างกันไป
 
ตัวชี้วัดในการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ที่น่าสนใจคือ HEI ที่ถูกพัฒนาโดยศูนย์นโยบายและส่งเสริมด้านโภชนาการ ประเทศสหรัฐอเมริกา และถูกนำมาพัฒนาต่อยอดโดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Harvard ที่มีชื่อว่า Alternative Healthy Eating Index (AHEI2010) ซึ่งเป็นดัชนีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการวัดคุณภาพของการรับประทานอาหารที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพที่ดี และการช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคเรื้อรัง (Chronic diseases) โดยผลงานวิจัยจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า AHEI และการเกิดโรคเรื้อรัง อาทิเช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือด (CVD) โรคหัวใจล้มเหลว โรคมะเร็งบางชนิด ฯลฯ มีความสัมพันธ์กันมาก อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ผลจากงานวิจัยยังสามารถนำมาใช้ในการคาดการณ์ความเสี่ยงและใช้เป็นแนวทางในการป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ รวมทั้งใช้ในการกำหนดนโยบายด้านสาธารณะสุขที่เหมาะสม อย่างมีประสิทธิภาพ
 
การพัฒนาตัวชี้วัดในการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ตามแนวทางของ AHEI2010 แบ่งองค์ประกอบออกเป็น 10 ข้อด้วยกัน โดยแต่ละข้อมีคะแนนเต็ม 10 และมีคะแนนรวม 100 คะแนน โดยที่
• คะแนน มากกว่า 80 หมายถึง Good diet
• คะแนน ระหว่าง 51 – 80 หมายถึง Need dietary improvement และ
• คะแนน น้อยกว่า 51 หมายถึง Poor
Dietary Score
* [ ] คือปริมาณที่บริโภคในแต่ละวัน [0] หมายถึง ไม่ได้รับประทาน
 
1. Whole fruit: [0] = 0 คะแนน, [>= 4 servings/d] = 10 คะแนน
2. Sugar-sweeten beverages & fruit juice: [>=8 oz/d] = 0, [0] = 10
3. Total vegetables: [0] = 0, [>=2.5 cups/d] = 10
4. Whole grains: [0] = 0, [Women [75g/d], Men [90g/d] = 10
5. Nuts and legumes: [0] = 0, [>=1 oz/d] = 10
6. Red and/or processed meat: [>=1.5 servings/d] = 0, [0] = 10
7. Long-chain w-3 fats: [0] = 0, [>=250 mg/d] = 10
8. PUFAs: [<=5 g/d] =0, [>=23 g/d] = 10
9. Sodium: [>2300 mg/d] = 0, [1500-2300 mg/d] = 10
10. Alcohol: [Women 0 or >=2.5 drinks/d, Men [0 or >=3.5 drinks/d} = 0, [Women [0.5 – 1.5 drinks/d, Men [0.5 – 2.0 drinks/d] = 10
 
เตรียมพบกับ #ตัวชี้วัดในการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ Healthy Eating Index หรือ #การประเมินภาวะโภชนาการ (การประเมินอาหารบริโภค) Dietary assessment โดยผ่านแอพ #KinYooDee เร็ว ๆ นี้ !!!
 
KinYooDee – Eat and Live Well เป็นการรีแบรนด์แอพ iOrderFresh by iOrder เดิม เพื่อให้ภาพลักษณ์แบรนด์มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ครอบคลุมการกินดี อยู่ดี
Source: AHEI2010, Photo: Forbes Eating Healthier

Checkup

จากการเริ่มต้นมีสุขภาพที่ดี ตั้งเป้าหมาย ลดน้ำหนัก นับแคล ควบคุมสารอาหาร ตรวจวัดสุขภาพ ให้ iOrder – FoodLog ช่วยดูแลสุขภาพคุณ แอปพลิเคชัน Android และ iOS

Global Partnership

เจรจาความร่วมมือระหว่าง กิน-อยู่-ดี แพลตฟอร์ม และ NAVER Cloud ประเทศเกาหลีใต้ ภายใต้โครงการ Global Partnership Programe
โดยมุ่งเน้นความร่วมมือทางด้าน Healthcare service และ Medical AI อาทิเช่น FoodLens บันทึกเมนูอาหารและสารอาหารจากรูปถ่าย ichrogene วิเคราะห์ข้อมูลจากดีเอ็นเอ Lunit วินิจฉัยโรคแบบแม่นยำ FeverCoach โมบายแอพ สำหรับการเฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่ในเด็ก และ VUNO โซลูชัน Medical AI devices and imaging

FoodAI

ระบบปัญญาประดิษฐ์สำหรับหาความสัมพันธ์ระหว่างสารอาหารและข้อมูลสุขภาพ ช่วยในการระบุว่าสารอาหารใดที่มีส่งผลต่อสุขภาพของแต่ละบุคคล เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลี่ยงหลีกหรือระวังการบริโภคที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ และช่วยให้คำแนะนำทางด้านโภชนาการในการเลือกรับประทานอาหาร ระบบใช้แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Network: ANN) ในการวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ โดยมีข้อมูลสุขภาพ สารอาหารที่ได้รับ และภาวะสุขภาพต่าง ๆ เป็นข้อมูลขาเข้า และมีค่าการวัดสุขภาพเป็นข้อมูลขาออก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1) Generic Model เป็นโมเดลที่ใช้ข้อมูลที่ได้มาจากผู้ใช้งานทั้งหมดในระบบมาประมวลผล เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้ค่าการวัดสุขภาพเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ข้อมูลสุขภาพ ทั้งส่วนของข้อมูลทั่วไป ข้อมูลภาวะสุขภาพ และข้อมูลปริมาณสารอาหารที่ได้จากการบริโภคในแต่ละวัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกใช้เป็นข้อมูลขาเข้า และใช้ค่าการวัดทางสุขภาพเป็นข้อมูลขาออกหรือเป้าหมาย (Target) ในการประมวลผลของแบบจำลอง ANN

2) Personalized Model เป็นโมเดลที่ใช้ข้อมูลแต่ละบุคคลมาประมวลผล เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างสารอาหารและค่าการวัดสุขภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นโมเดลที่เพิ่มขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาว่า การใช้งานของโมเดลกลางนั้น เป็นข้อมูลของบุคคลหลายคน ทำให้ไม่สามารถที่จะหาค่าความสัมพันธ์ที่เป็นเฉพาะของบุคคลได้ เนื่องจากการประมวลผลจะถูกทำให้เป็นค่ากลางโดยข้อมูลของบุคคลอื่น ๆ ซึ่งโมเดลเฉพาะบุคคลจะมีความแตกต่างของจากโมเดลกลางในส่วนของข้อมูลขาเข้า หรือจำนวนตัวแปรของข้อมูลเข้าขาก็จะแตกต่างกัน ซึ่งในโมเดลเฉพาะบุคคลนั้น ข้อมูลขาเข้าจะมีเพียงข้อมูลสารอาหารที่บริโภค เนื่องจากโมเดลเฉพาะบุคคลจะใช้ชุดข้อมูลของบุคคลเดียว ทำให้ไม่มีความแตกต่างกันในส่วนของข้อมูลสุขภาพและภาวะสุขภาพ จึงตัดข้อมูลในส่วนนี้ออก ซึ่งจะทำให้ส่วนของการประมวลใช้เวลาในการประมวลผลสั้นลง ผู้ใช้งานสามารถใช้งานฟังก์ชันนี้ได้ก็ต่อเมื่อมีการบันทึกข้อมูลการบริโภคและค่าการวัดสุขภาพอย่างน้อยจำนวน 30 วัน