Sub-optimal health

ภาะวะพร่องสุขภาพ ผลจากพฤติกรรมและวิถีชีวิตที่ไม่สมดุล

บ่อยครั้งที่ไปโรงพยาบาลเพราะอาการเจ็บป่วย และมักได้ยากลับมาทานตามอาการ แต่ไม่ได้รับการวินิจฉัยโรคใด ๆ นั่นเป็นเพราะไม่ใช่ความผิดปกติที่สามารถวินิจฉัยได้ แต่กลับสร้างความบั่นทอนสุขภาพอยู่ไม่น้อย หรือเรียกว่า “ภาวะพร่องสุขภาพ”

ภาวะพร่องสุขภาพ (Sub-optimal health) เป็นภาวะก้ำกึ่งระหว่างสุขภาพดีและโรคภัยจากการขาดวิตามินและเกลือแร่เพียงเล็กน้อย หรือเรียกว่า “สถานะที่สามของสุขภาพ” ไม่ใช่โรค แต่เป็นสัญญาณหรืออาการเตือนก่อนที่จะนำไปสู่การเกิดโรคต่าง ๆ จากอาการเรื้อรังที่ไม่แสดงความผิดปกติทันที แต่สร้างความบั่นทอนสุขภาพ และทำให้คุณภาพชีวิตลดลง เป็นปัญหาใหม่ทางสาธารณสุขที่ไม่สามารถวินิจฉัยได้เนื่องจากความไม่ชัดเจนและไม่เฉพาะเจาะจงของอาการ ซึ่งเป็นผลจากพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพและวิถีชีวิต ยกตัวอย่างเช่น การขาดวิตามินดีซึ่งพบได้เป็นส่วนใหญ่ และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกในทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะในผู้ใหญ่วัยทำงานและผู้สูงอายุที่มีผลกระทบร่วมจากอายุที่มากขึ้น

อาการเสื่อมจากภาวะพร่องสุขภาพจะค่อยเป็นค่อยไป และไม่มีอาการที่ชัดเจนขึ้นอยู่กับกลุ่มสารอาหารที่บกพร่อง เช่น

    • ภาวะพร่องวิตามินดี และแคลเซียม ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย ปวดกระดูก วิตกกังวล ความอยากอาหารลดลง จากวิถีชีวิตที่ปกป้องหรือป้องกันผิวจากแสงแดดทำให้ร่างกายสังเคราะห์ได้ไม่เพียงพอ
    • ภาวะพร่องธาตุเหล็ก วิตามินบี9 หรือวิตามินบี12 ทำให้อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่สดชื่น จากการผลิตเม็ดเลือดแดงที่ลดลง
    • ภาวะพร่องวิตามินเอ วิตามินซี และสังกะสี ทำให้เป็นหวัด เจ็บป่วยง่าย จากภูมิคุ้มกันทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ
    • ภาวะพร่องแมกนีเซียม วิตามินบี6 และวิตามินบี 12 ทำให้มีอาการนอนไม่หลับ ตื่นแล้วไม่สดชื่น จากการผลิตเซโรโทนิน และเมลาโทนินที่ลดลง

สาเหตุการขาดวิตามินและเกลือแร่มาจากการบริโภคสารอาหารที่ไม่เพียงพอ (ปฐมภูมิ) และผลจากโรคประจำตัวที่มาจากวิถีชีวิต (ทุติยภูมิ) เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่เจอแสงแดด การใช้ยา รวมถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพด้วยตนเอง สามารถทำแบบสอบถาม (SHSQ-25) Suboptimal health status questionnaire-25 ครอบคลุมด้วยข้อคำถาม 5 หมวดหมู่ ได้แก่ ความเหนื่อยล้า ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบย่อยอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน และสถานะสุขภาพจิต ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

ค่าแนะนำปริมาณสารอาหารที่ควรบริโภคและค่าสูงสุดที่บริโภคได้ต่อวันสำหรับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย และตัวอย่างแหล่งอาหาร

สารอาหาร ค่าแนะนำ (RDA) ค่าสูงสุด (UL) แหล่งอาหาร
วิตามิน A (ug) 800 3000 น้ำมันตับปลา ตับ นม ไข่ ผักผลไม้สีเขียว ส้ม เหลือง
วิตามิน D (ug) 5 100 แสงแดด ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทู กุ้ง
วิตามิน B6 (ug) 2 100 สัตว์เนื้อแดง และไข่แดง
วิตามิน B9 (ug) 200 1000 ดอกะหล่ำ ดอกและใบกุยช่าย มะเขือเทศ แตงกวา
วิตามิน B12 (ug) 2 1000 เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์เท่านั้น
วิตามิน C (mg) 60 2000 ผักและผลไม้รสเปรี้ยว
เหล็ก (mg) 15 120 สัตว์เนื้อแดง เครื่องในสัตว์ พืชตระกูลถั่ว ผักใบเขียว
แคลเซียม (mg) 800 2500 นมและผลิตภัณฑ์ ผักใบเขียว
สังกะสี (mg) 15 40 ไข่ เต้าหู้ ผักโขม เห็ด ธัญพืช หอยนางรม
แมกนีเซียม (mg) 350 500 ธัญพืช โฮลเกรน ผักใบเขียว

RDA: Recommended Dietary Allowances, UL: Tolerable Upper Intake Levels

สุขภาพถือเป็นกุญแจสำคัญของชีวิต องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้นิยามสุขภาพว่า “สภาวะความผาสุกทางร่างกาย จิตใจ และสังคมที่สมบูรณ์ ไม่ใช่แค่การไม่มีโรคหรือความทุพพลภาพเท่านั้น” ถึงแม้ว่าปัจจุบันโรคที่เกิดจากการขาดสารอาหารรุนแรงนั้นจะพบเจอได้ยาก แต่การบริโภคสารอาหารรอง (วิตามินและแร่ธาตุ) ที่ไม่เหมาะสมยังคงเป็นเรื่องปกติ สาเหตุหลักจากวิถีชีวิตที่บริโภคสารอาหารไม่เป็นไปตามคำแนะนำ (RDA) ร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ ที่รบกวนสุขภาพ เช่น การนอนหลับที่ไม่เพียงพอ และการไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น การบริโภคสารอาหารที่เพียงพอเป็นพื้นฐานสำคัญที่นำไปสู่สภาวะสุขภาพที่ดี สารอาหารตาม RDA หรือ “ค่าต่ำสุดที่ควรบริโภคเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพสำหรับผู้ที่มีสุขภาพดี” อาจเป็นผลดีกว่าในผู้ที่บริโภคมากกว่าค่าแนะนำโดยไม่ควรเกินค่าสูงสุดต่อวัน จะเห็นได้ว่า แหล่งของวิตามินและเกลือแร่ส่วนใหญ่พบได้ในผักผลไม้สด ดังนั้น การรับประทานผักผลไม้วันละ 400 กรัม หรือ 5 ฝ่ามือ ตามคำแนะนำของ WHO ก็เพียงพอต่อการป้องกันการขาดวิตามินและเกลือแร่ได้ในผู้ที่มีสุขภาพดี และควรบริโภคในปริมาณที่มากกว่าสำหรับผู้ที่ขาด

การเสริมวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ สามารถทำได้ ไม่ได้เป็นข้อห้ามแต่อย่างใดสำหรับผู้ที่ขาด เพียงแต่จำเป็นต้องทราบถึงประโยชน์และโทษของการเสริมนั้น ๆ แน่นอนว่าการขาดวิตามินและเกลือแร่เป็นผลเสียต่อร่างกาย แต่การเสริมที่เกินกว่าความต้องการจะเป็นโทษต่อร่างกายเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะกลุ่มวิตามินที่ไม่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามิน A, D, E และ K และการเสริมโดยไม่จำเป็นก็ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ที่ดีกว่า ทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการสารอาหารที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล การตรวจวัดระดับวิตามินและเกลือแร่ก่อนการเสริม หรือ “Personalized Vitamin” เป็นหนึ่งในการรักษาเฉพาะบุคคลภายใต้การดูแลของแพทย์ ช่วยลดปริมาณการเสริมเกินความจำเป็นที่อาจเกิดโทษต่อร่างกายได้

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า สาเหตุหลักของภาวะพร่องสุขภาพมาจากพฤติกรรมและวิถีชีวิต ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควรได้รับการปรับเปลี่ยนเป็นอย่างแรก ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการนอนหลับ รวมทั้งการรู้เท่าทันสุขภาพ และหมั่นสำรวจความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ยังคงเป็นการดูแลป้องกันที่ดีที่สุด แต่ด้วยอุปสรรคจากวิถีชีวิตวัยทำงานทำให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นไปได้ค่อนข้างยาก การเสริมสารอาหารที่ขาดเป็นทางออกที่ดีสำหรับบุคคลเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม การเสริมอาหารควบคู่กับอาหารเพื่อสุขภาพย่อมเป็นผลลัพธ์ที่ดีกว่า สิ่งสำคัญคือการรับรู้ประโยชน์และโทษของสารอาหารที่ต้องการเสริม และคอยติดตามตนเองสม่ำเสมอ ดังนั้น ควรศึกษาปริมาณของวิตามินหรือเกลือแร่ในปริมาณที่ไม่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายหรือตรวจระดับวิตามินและเกลือแร่ก่อนการเสริม และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนบริโภคเสมอ เพื่อป้องกันอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งการอาการบั่นทอนจากภาวะพร่องสุขภาพเหล่านี้ นำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรังต่อไปได้

DNA testing for cancer risk

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความก้าวหน้าทางด้านชีวการแพทย์ในการศึกษายีนส์แบบองค์รวม (Genomics) โดยการวิเคราะห์ทางพันธุกรรม เพื่อวินิจฉัยและรักษาโรคต่าง ๆ รวมถึงการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมเพื่อประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต

การทดสอบดีเอ็นเอ สามารถทำได้โดยการค้นหาการเปลี่ยนแปลงของลำดับดีเอ็นเอภายใน ยีน โครโมโซม หรือโปรตีน หรือเรียกการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ว่า การผ่าเหล่า (Mutation) ซึ่งสามารถบ่งชี้ถึงโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งบางประเภทได้ อาทิเช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น
ยกตัวอย่างเช่น ยีนที่มีชื่อว่า BRCA1 และ BRCA2 ถ้าตรวจพบว่า ลำดับของดีเอ็นเอภายในยีนเปลี่ยนแปลงไปจากมาตรฐานที่อ้างอิงไว้ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่ในเพศหญิง รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชาย สังเกตด้วยว่า ยีน BRCA อาจไม่ได้เป็นยีนเพียงตัวเดียวที่บ่งชี้ถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง

ปัจจุบัน นักวิจัยชีวการแพทย์ พบว่า ยังมียีนที่มีค่าลำดับดีเอ็นเอที่ผิดปกติ (Mutated genes) จำนวนมากกว่า 100 ยีน มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคมะเร็ง ซึ่งยีนเหล่านี้ ด้วยตัวมันเองเพียงลำพัง จะบ่งชี้ถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ความสัมพันธ์ด้วยกันเองของยีนเหล่านี้ อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งมากยิ่งขึ้น

โดยทั่วไป ประมาณ 10-20% ของโรคมะเร็งทุกประเภท มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม ซึ่งถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ หรือบรรพบุรุษ (ที่เหลืออีก 80% มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อม และการรับประทานอาหาร) การมี Mutated genes ที่ถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ ไม่ได้แปลความหมายโดยตรงว่า จะส่งผลทำให้ลูกเป็นโรคมะเร็ง แต่เป็นการที่บ่งชี้ว่า ลูกจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งสูงกว่าบุคคลอื่น

ดังนั้น การหาลำดับของดีเอ็นเอที่เปลี่ยนแปลงภายในยีน ที่ได้มาจากพันธุกรรม สามารถใช้ในการพยากรณ์แนวโน้มของการเกิดโรคมะเร็ง และโรคทางพันธุกรรมอื่น ๆได้ โดยปกติคนส่วนใหญ่ ไม่จำเป็นต้องตรวจดีเอ็นเอ อย่างไรก็ตาม คำแนะนำเบื้องต้นระบุว่า เราควรจะตรวจเอ็นเอเพื่อประเมินความเสี่ยงโรคมะเร็ง ในกรณีดังต่อไปนี้

    • การมีสมาชิกในครอบครัวที่มีเชื้อสายตรง (First-degree ralatives) มีประวัติป่วยเป็นโรคมะเร็ง
    • สมาชิกในครอบครัว ป่วยเป็นโรคมะเร็งตั้งแต่อายุยังน้อย
    • สมาชิกในครอบครัว ป่วยเป็นโรคมะเร็งที่มีโอกาสพบได้ยาก อาทิเช่น มะเร็งดวงตา มะเร็งเต้านมในผู้ชาย เป็นต้น
    • สมาชิกในครอบครัว ป่วยเป็นโรคมะเร็งตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป
    • สมาชิกในครอบครัว ป่วยเป็นโรคมะเร็ง โดยตรวจพบว่า มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนลำดับของยีนเพียงตัวเดียว (อาทิเช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งไส้ และมะเร็งตับอ่อน บางประเภท)
    • ญาติพี่น้อง มีประวัติป่วยเป็นโรคมะเร็ง โดยตรวจพบว่า มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม
      ผลการทดสอบดีเอ็นเอ จะช่วยในการวินิจฉัยทางการแพทย์ และหาแนวทางในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ซึ่งอาจรวมถึง การรักษาด้วยยา การผ่าตัด การตรวจคัดกรองโรคที่บ่อยขึ้น (ยกตัวอย่างเช่น หากตรวจพบว่า ยีน BRCA1 ในเพศหญิงผิดปกติ ก็ควรตรวจค้นหามะเร็งเต้านมด้วยเครื่อง MRI ซึ่งเป็นการตรวจในระดับที่ละเอียดมากกว่าการตรวจปกติประจำปี หรือ หากตรวจพบว่า ยีน BRCA2 ในเพศชายผิดปกติ ก็ควรตรวจค่า PSA (ค่าโปรตีนที่สร้างจากเซลล์ของต่อมลูกหมาก) สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง) นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ การดำเนินชีวิตประจำวัน และการรับประทานอาหาร เป็นแนวทางในการป้องกันและรักษาโรคมะเร็งที่ตรวจพบตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นได้

Subscription Model

ระบบสมัครสมาชิกเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าและบริการที่ต้องการเป็นประจำ รายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปี ในราคาที่ประหยัดกว่า

Thamturakit x Kinyoodee

ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม ” ปลูก ” x กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม ” จัดส่ง ” ผักผลไม้ ไข่ไก่ ประมงพื้นบ้าน ปราศจากสารเคมี จากเครือข่ายศิษย์ยักษ์กะโจน ทั่วประเทศ

Agri-food ecommerce

แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสินค้าเกษตร

ความท้าทายในการออกแบบและพัฒนา กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม ให้สามารถรองรับการขายสินค้าเกษตรผ่านระบบอีคอมเมิร์ซ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร ประเภทผักสด ผลไม้ ของสด ประมงพื้นบ้าน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การผลิตเพื่อความพอมี พอกิน พอใช้ ก่อน และส่วนที่เหลือนำมาแบ่งปัน หรือขายให้กับผู้บริโภค ดังนั้น เราจึงไม่ทราบว่า สัปดาห์นี้จะมีสินค้าอะไรขายบ้าง และมีปริมาณเท่าไหร่ รวมทั้ง อาจไม่สามารถรู้ข้อมูลล่วงหน้า ตามกำหนดเวลาที่แน่นอนได้ ?

ทีมงานได้ออกแบบและพัฒนา กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม ผ่าน โมบายแอปพลิเคชัน KinYooDee ให้สามารถรองรับกับวิถีดังกล่าว โดย วิสาหกิจเพื่อสังคม วิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มเกษตรกร สามารถส่งข้อมูลรายการสินค้าและปริมาณที่จะขายเข้ามาในระบบ เพื่อให้ระบบทำการเปิดการขาย และปิดการขาย โดยอัตโนมัติ เมื่อสินค้ารายการนั้น ๆ ถูกขายออกไปและมีปริมาณสต็อกเท่ากับศูนย์ หรือปิดการขายเมื่อสินค้านั้น ๆ ถึงเวลา Cut-off time ที่ถูกตั้งค่าไว้ล่วงหน้า หลังจากนั้น ระบบแพลตฟอร์ม จะทำการตัดสต็อกของสินค้าที่คงเหลืออยู่ให้เป็นศูนย์ เพื่อรอรับข้อมูลรายการและปริมาณสินค้าที่ส่งมาเพื่อเปิดการขาย ในรอบถัดไป

KinYooDee Platform Feature Release: 2020-04-29

Private Store

แสดงสินค้าบางรายการ เฉพาะกลุ่มลูกค้า (Private Store) อาทิ สินค้าอ่อนไหว เครื่องดื่ม xx ยาตามใบสั่งแพทย์ สินค้าพิเศษเฉพาะสมาชิก ไอเท็มลับ ยกตัวอย่าง การประยุกต์ใช้งาน KinYooDee Private Store สำหรับจัดส่งวัตถุดิบอาหาร เฉพาะกลุ่มลูกค้า โรงพยาบาล ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ โรงแรมและรีสอร์ท ครัวกลาง (Catering)

#กินอยู่ดี

Food Supply

ขอขอบคุณโรงพยาบาลพนัสนิคม ชลบุรี ที่มอบความไว้ใจให้ ไอออเดอร์เฟชร จัดส่งวัตถุดิบอาหารสำหรับผู้ป่วย แพลตฟอร์มศูนย์กระจายสินค้าชุมชนของเรา iOrderDC จะเชื่อมโยงวัตถุดิบเกษตร-อาหาร จากฟาร์มสู่เมือง ช่วยเหลือเกษตรกรผ่านเครือข่าย farmFresh by iOrderFresh – Trusted Supply Network ในการสร้างความต้องการของสินค้าเกษตร-อาหารให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้เกษตรกรพึ่งพาตัวเองได้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

e-Commerce API

เปิดให้บริการเชื่อมต่อ api ระหว่างระบบอีคอมเมิร์ซ (หรือระบบการขายสินค้าอื่น ๆ) ของหน่วยงานภายนอก* และระบบบริหารจัดการศูนย์กระจายสินค้าของ iOrderFresh เพื่อส่งต่อสินค้าเกษตร-อาหาร จากฟาร์มสู่เมือง
    • ระบบการขาย ผ่านอีคอมเมิร์ซ iOrder – Mobile Order and Pay
    • ระบบการขาย ผ่านตู้ล็อกเกอร์ควบคุมอุณหภูมิ FreshBOX
    • ระบบการขาย รวมกลุ่มกันซื้อ Groupbuy
    • ระบบการขาย เติมเต็มวัตถุดิบ iOrder – Stock Replenishment
    • ระบบจัดการซัพพลายเออร์ FarmFresh
    • ระบบซื้อของ-จ่ายตลาด iOrderBUY
    • ระบบจัดการศูนย์กระจายสินค้าและบริหารการจัดส่ง iOrderFresh
    • ระบบสำหรับพนักงานขนส่ง iOrderGO
*ขอสงวนสิทธิ์เฉพาะ วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม สหกรณ์การเกษตร หรือมูลนิธิฯ

Wallet

ขุดบ่อเตรียมเลี้ยงปลานิล – My Wallet สำหรับ NINFISH COIN เหรียญปลานิล ปลาแห่งพระราชา ปลาพระราชทานจากพ่อ (ในหลวงรัชกาลที่ 9) เพื่อปากท้องของคนไทย ปลาที่พ่อเลี้ยงให้ลูกทุกคนได้กิน แหล่งโปรตีนราคาถูกที่ทุกคนเข้าถึง ปลานิล สัญลักษณ์แห่งความเท่าเทียม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง #เหรียญปลานิล #กองทุนปลานิล

Menu Mapping

Map menu เป็นฟังก์ชันพิเศษที่ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถประมาณวัตถุดิบ (Ingredients) ที่ใช้ไปในแต่ละวันจากยอดขายอาหาร โดยไม่ต้องป้อนข้อมูลวัตถุดิบของแต่ละเมนูอาหาร ระบบไอออเดอร์จะเชื่อมโยงเมนูอาหารที่ไม่มีข้อมูลรายการวัตถุดิบกับ Global menu ที่มีรายการวัตถุดิบอยู่ในระบบฐานข้อมูล ดังนั้น เมื่อทราบปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ไปในแต่ละวัน ร้านอาหารสามารถคาดการณ์ปริมาณสั่งซื้อวัตถุดิบและควบคุมวัตถุดิบคงคลังได้อย่างเหมาะสม และร้านอาหารสามารถอัพเดทข้อมูลปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ในแต่ละเมนูใน Local menu ของร้านได้ตลอดเวลาในภายหลัง เพื่อให้การประมาณค่าปริมาณการใช้วัตถุดิบมีความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น