Nutrigenomics

โภชนพันธุศาสตร์ (Nutrigenomics) เป็นการศึกษาปฏิกิริยาความสัมพันธ์ระหว่างสารอาหารกับลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งอาศัยการตรวจดีเอ็นเอในตำแหน่งต่าง  ๆ ในการตอบสนองของร่างกายต่อสารอาหาร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการโภชนาการอาหาร การวางแผนการออกกำลังกาย และการดูแลสุขภาพองค์รวม หัวข้อด้านล่างเป็นตัวอย่างการทดสอบพันธุกรรม ที่อาจมีอิทธิพลต่อสารอาหารของแต่ละบุคคล และ เหตุผลว่าทำไม ? การตรวจโภชนพันธุศาสตร์ จึงมีความสำคัญ

  • การตอบสนองต่อแอลกอฮอล์ (Alcohol Flush)

การแพ้แอลกอฮอล์ นอกจากจะทำให้เกิดอาการหน้าแดงหรือมีผื่นขึ้นที่ตามลำตัวแล้ว ผู้ดื่มแอลกอฮอล์อาจจะมีอาการปวดหัว คลื่นไส้ และง่วงนอน ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงยีนที่ไม่สามารถจัดการสารอะซิทัลดีไฮด์ที่มีอยู่ในแอลกอฮอล์เมื่อเข้าสู่ร่างกายได้เร็วเท่าที่ควร หากท่านมีพันธุกรรมนี้ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือจำกัดปริมาณการบริโภค เนื่องจากอะซิทัลดีไฮด์จะเก็บสะสมอยู่ที่ตับ ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายและเป็นสารก่อมะเร็ง

  • ความอยากอาหาร (Appetite)

แต่ละบุคคลจะมีพันธุกรรมที่ตอบสนองต่อความอยากอาหารต่างกัน ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงยีนที่ช่วยส่งเสริมความอยากอาหาร ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ดังนั้น ควรปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทโปรตีนเพิ่มมากขึ้น และหลีกเลี่ยงหรือลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงและคาร์โบไฮเดรตลง

  • เบต้าแคโรทีน/ วิตามินเอ (Beta-Carotene/ Vitamin A)

วิตามินเอ มีประโยชน์ช่วยในการมองเห็น ช่วยการเจริญเติบโตของร่างกายผิวพรรณและผม รวมทั้งยังช่วยให้ภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงยีนที่แปลงเบต้าแคโรทีนเป็นวิตามินเอ ทำงานมีประสิทธิภาพลดลง ส่งผลทำให้เกิดภาวะการขาดวิตามินเอ ดังนั้น ควรบริโภคอาหารที่อุดมด้วยวิตามินเอมากกว่าปกติ ในทางตรงกันข้าม ระดับวิตามินเอในร่างกายที่มากเกินไป จะส่งผลให้เกิดพิษและความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ อาทิเช่น โรคมะเร็งปอด

  • การตอบสนองต่อกาเฟอีน (Caffeine Sensitivity)

การตอบสนองต่อกาเฟอีนขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่กาเฟอีนอยู่ในร่างกาย การเผาผลาญกาเฟอีนได้เร็ว หรือช้า การที่กาเฟอีนอยู่ในร่างกายในระยะเวลานานจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตและโรคหัวใจ ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงยีนที่ที่มีอิทธิพลต่อการเผาผลาญกาเฟอีนในร่างกาย ยกตัวอย่าง ผู้ที่มียีนที่มีการตอบสนองต่อกาเฟอีนมาก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ร่างกายเผาผลาญกาเฟอีนได้ช้า ควรจะหลีกเลี่ยงการบริโภคกาเฟอีน หรือจำกัดการบริโภค น้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน

  • การขาดแคลเซียม (Calcium Deficiency)

ร้อยละ 99 ของแคลเซียมอยู่ในกระดูกและฟัน สาเหตุหลักของการขาดแคลเชียมมาจากการขาดวิตามินดี ที่ช่วยดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย การขาดแคลเซียมทำให้เกิดสภาะกระดูกพรุน ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ ในทางตรงข้าม เมื่อร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไป จะมีแคลเซียมในกระแสเลือดมาก ส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งบางประเภทตามมา อาทิเช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งเม็ดเลือด ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของยีนที่มีผลต่อการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย และสามารถใช้ในการแนะนำปริมาณการบริโภคแคลเซียมที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

  • การตอบสนองต่อคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate Sensitivity)

แต่ละบุคคลมียีนที่สร้างเอ็นไซม์อะไมเลสในน้ำลายซึ่งทำหน้าที่ย่อยคาร์โบไฮเดรตได้แตกต่างกัน ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของยีนที่มีอิทธิพลต่อการย่อยคาร์โบไฮเดรต เพื่อนำไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีพันธุกรรมที่ตอบสนองต่อคาร์โบไฮเดรตต่ำ หรือมียีนที่ย่อยคาร์โบไฮเดรตมีประสิทธิภาพน้อย จะมีโอกาสในการเพิ่มน้ำหนักตัวจากการรับประทานอาหารได้มาก อย่างไรก็ตาม หากท่านมีพันธุกรรมดังกล่าว สามารถแก้ไขโดยการรับประทานอาหารให้ช้าลงและเคี้ยวให้ละเอียดมากขึ้น เพื่อเพิ่มระยะเวลาการย่อยคาร์โบไฮเดรต

  • การรับรสอาหารที่มีรสชาติมัน (Fat Taste)

อาการที่บางคนรับประทานอาหารที่มีรสมันแล้วรู้สึกว่ามันเลี่ยนเมื่อทานไปมาก ๆ แต่บางคนกลับทานอาหารสมันเหล่านี้ต่อไปได้โดยไม่รู้สึกเลี่ยน ความแตกต่างนี้อาจจะมีที่มาจากพันธุกรรม กลุ่มคนที่รับรสมันได้น้อยกว่าอาจจะเผลอรับประทานอาหารที่มีความมันมากเกินไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งส่งผลต่อความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีความมันไม่ให้ทานมากเกินไป

  • ความต้องการโฟเลต (Folate)

การขาดโฟเลตจะส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางและภาวะสุขภาพอื่น ๆ อาทิเช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หายใจสั้น ใจสั่น หน้ามืดบ่อย ความจำและทักษะทางความคิดลดลง รวมทั้งมีการปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงยีนที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการแปลงกรดโฟลิคเพื่อนำไปสร้างสร้างเม็ดเลือดแดงในร่างกาย หากท่านมีพันธุกรรมนี้ ภาวะการขาดโฟเลตอาจจะเกิดขึ้นและสังเกตได้ค่อนข้างยาก แม้ว่าจะบริโภคอาหารที่มีโฟเลตในปริมาณที่แนะนำต่อวันแล้วก็ตาม

  • สภาวะไม่ทนน้ำตาลแลคโตส (Lactose Intolerance)

ปัญหาในการเผาผลาญน้ำตาลในนม หรือแลคโตสทำให้เกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ซึ่งมาจาก 2 สาเหตุหลัก สาเหตุแรกเกิดจากยีนที่ช่วยสร้างเอ็นไซม์ในการย่อยน้ำตาลแลคโตสมีประสิทธิภาพลดลง และเกิดจากความผิดปกติของลำไส้ ทำให้สูญเสียความสามารถในการเผาผลาญแลคโตสชั่วคราว โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็ก ผลตรวจพันธุกรรม จะทำให้เราเข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของสภาวะไม่ทนน้ำตาลแลคโตส ซึ่งไม่สามารถตรวจพบได้ในห้องแล็บทั่วไป

  • โอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 (Omega-3 and Omega-6 Level)

ในสมองของมนุษย์ประกอบด้วยไขมันร้อยละ 60 จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม กรดไขมันจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก โอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ร่างกายไม่สามารถผลิตขึ้นเอง การขาดโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคความจำเสื่อม ไขมันพอกตับ และโรคหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนี้ สัดส่วนที่ไม่เหมาะของโอเมก้า-6 ต่อ โอเมก้า-3 ยังก่อให้เกิดการอักเสบ โรครูมาตอยด์ และโรคหัวใจด้วยเช่นกัน ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงยีนที่มีอิทธิพลต่อระดับโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 ในร่างกาย เพื่อใช้ในการปรับพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

  • โอเมก้า-3 และ DHA (Omega-3 and DHA)

โอเมก้า 3 เป็นกลุ่มของไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวชนิดหนึ่ง ตัวอย่างโอเมก้า 3 ที่จำเป็นต่อร่างกาย คือ กรดไขมันลิโนเลอิคชนิดแอลฟา (ALA) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่ร่างกายผลิตเองไม่ได้ ซึ่งร่างกายจะเปลี่ยนกรดไขมันนี้ให้เป็น DHA การรับประทานกรดไขมันเหล่านี้ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยทำให้ระดับไขมันในเลือดลดลง การรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยรักษาระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในระดับที่ปกติ ตัวอย่างอาหารที่มีโอเมก้า 3 มาก ได้แก่ ปลาทะเล อาหารทะเล เมล็ดเชีย และอาหารที่มีการเสริมโอเมก้า 3

  • การตอบสนองต่อเกลือและความดันโลหิต (Salt Hypertension Sensitivity)

การบริโภคเกลือโซเดียมในปริมาณที่มากเกินไปส่งผลกระทบโดยตรงต่อค่าความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีภาวะการตอบสนองต่อเกลือและความดันโลหิต มักจะไม่แสดงอาการเด่นชัด แต่อาจจะมีสัญญาญเตือนโดยมีค่าความดันโลหิตสูงขึ้นพร้อมกับอาการปวดศรีษะ ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงยีนที่มีอิทธิพลการตอบสนองต่อเกลือและความดันโลหิต โดยทั่วไป องค์การอนามัยโลกแนะนำให้บริโภคเกลือโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากท่านมีพันธุกรรมนี้ ควรหลีกเลี่ยง หรือลดปริมาณการบริโภคเกลือโซเดียมลงน้อยกว่าค่าที่แนะนำ

  • การรับรสเค็ม (Salt Taste Receptor)

ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงยีนที่มีอิทธิพลต่อการรับรสเค็ม หากท่านมีพันธุกรรมนี้ จะมีความชอบในการบริโภคอาหารรสเค็ม และบริโภคในปริมาณที่มากกว่าปกติ ซึ่งส่งต่อผลให้เกิดโรคต่าง ๆ อาทิเช่น โรคไต ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ

  • การตอบสนองต่อไขมันอิ่มตัว (Saturated Fat Sensitivity)

ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงยีนที่มีอิทธิพลต่อการตอบสนองต่อไขมันอิ่มตัว ผู้ที่ตอบสนองต่อไขมันอิ่มตัวสูง การบริโภคไขมันอิ่มตัวจะส่งผลต่อน้ำหนักตัว เพิ่มขึ้นหรือลดลง แปรผันตามปริมาณที่บริโภค ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ตอบสนองต่อไขมันอิ่มตัวต่ำ ไม่ว่าจะควบคุมการบริโภค ไม่เกิน 22 กรัมต่อวัน ยังคงมีแนวโน้มที่จะมีน้ำหนักตัวเท่าเดิม อย่างไรก็ตาม การบริโภคไขมันอิ่มตัวในปริมาณมาก จะเพิ่มระดับไขมันเลว LDL ในร่างกาย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

  • การตอบสนองต่อไขมันไม่อิ่มตัว (Polyunsaturated Fat Sensitivity)

การรับประทานไขมันไม่อิ่มตัวส่งผลดีต่อสุขภาพ เพราะมีส่วนช่วยลดไขมันและโครเลสเตอรอลในเลือด ดังนั้น ควรเพิ่มอาหารที่มีส่วนของไขมันไม่อิ่มตัว หรือ แทนที่ไขมันอิ่มตัวด้วยไขมันไม่อิ่มตัว อาทิเช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย อะโวคาโด น้ำมันมะกอก เมล็ดดอกทานตะวัน และถั่วชนิดต่าง ๆ

  • ธาตุเหล็ก (Serum Iron Level)

ธาตุเหล็กในร่างกายอาจมีทั้งน้อยไป หรือมากเกินไป การมีธาตุเหล็กในระดับต่ำจะส่งผลให้เกิดโรคโลหิตจาง ในทางตรงข้าม ธาตุเหล็กในระดับสูงไปจะส่งผลให้เลือดเป็นพิษ ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงยีนที่มีอิทธิพลต่อระดับธาตุเหล็กในร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่มียีนที่ส่งผลต่อการผลิตธาตุเหล็กในปริมาณมาก จะทำให้เกิดโรคปวดตามข้อ ปวดหลัง อ่อนเพลีย โดยเฉพาะผู้ชายช่วงอายุ 30 – 50 ปี จะมีผลมากกว่าผู้หญิง เนื่องจากผู้หญิงมีการสูญเสียเลือดในระหว่างมีประจำเดือน ซึ่งจะช่วยลดปริมาณธาตุเหล็กลง

  • การรับรสหวาน (Sweet Taste)

ผลตรวจพันธุกรรม หากท่านมียีนที่ส่งเสริมการรับรสหวาน ร่างกายจะสามารถรับรสหวานได้มาก แม้จะบริโภคอาหารที่มีรสหวานในปริมาณน้อย ในทางตรงข้าม หากท่านไม่มีพันธุกรรมดังกล่าว จะต้องบริโภคอาหารที่มีรสหวานในปริมาณมาก เพื่อให้ได้ระดับความหวานที่พึงพอใจ ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ อาทิเช่น โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ

  • วิตามินบี 12 (Vitamin B12 Level)

หน้าที่สำคัญของวิตามินบี 12 คือการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง รวมทั้งทำให้เซลล์มีความสมบูรณ์แข็งแรง โดยปกติร่างกายสามารถเก็บสะสมวิตามินบี 12 ไว้ในตับได้มากถึง 1,000 – 2,000 เท่าของปริมาณความต้องการต่อวัน เพื่อนำไปใช้ในวันที่มีไม่เพียงพอ การขาดวิตามินบี 12 จะทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดอาการชาในมือและเท้า และการทำงานของระบบประสาทผิดปกติ ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของยีนที่มีอิทธิพลต่อการดูดซึมวิตามินบี 12 ในร่างกาย สังเกตด้วยว่า แม้ว่าร่างกายเกิดภาวะการขาดวิตามินบี 12 จะไม่สามารถตรวจพบได้ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เนื่องจากร่างกายสามารถนำเอาวิตามินบี 12 ที่เก็บสะสมไว้ มาใช้งานได้เป็นระยะเวลานานนับปี

  • วิตามินบี 6 (Vitamin B6 Level)

วิตามินบี 6 ละลายได้ในน้ำ ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ การขาดวิตามินบี 6 จะทำให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนัง เกิดแผลที่ผิวหนัง และมีระดับภูมิคุ้มกันต่ำ ในทางตรงกันข้าม การได้รับวิตามินบี 6 ในปริมาณที่มากไป จะทำให้เกิดแผลที่ผิวหนังชนิดรุนแรงด้วยเช่นกัน ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงยีนที่มีอิทธิพลต่อความต้องการวิตามินบี 6 ในปริมาณที่สูงขึ้นมากกว่าคนทั่วไป ซึ่งจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค อาทิเช่น โรคมะเร็งลำไส้ ถ้าร่างกายไม่ได้รับวิตามินบี 6 ในปริมาณที่เพียงพอ

  • วิตามินซี (Vitamin C Level)

วิตามินซีช่วยบำรุงผิวพรรณ สร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รวมทั้งเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ร่างกายไม่สามารถสร้างและเก็บสะสมวิตามินซีได้ เมื่อร่างกายได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอ จะทำให้ผิวพรรณไม่สดใส มีเลือดออกขณะแปรงฟัน แผลหายช้า และมีภูมิคุ้มกันโรคลงต่ำลง และหากรับประทานมากเกินไป วิตามินซีจะถูกขับออกทางร่างกายพร้อมปัสสาวะ และมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ่วในไต หรือทางเดินปัสสาวะ ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงยีนที่มีอิทธิพลต่อความต้องการวิตามินซีในร่างกาย ซึ่งระดับของวิตามินซียังส่งผลต่อการดูดซึมธาตุเหล็กเข้าสู่ร่างกายด้วย

  • วิตามินดี (Vitamin D Level)

วิตามินดีช่วยร่างกายในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของมวลกระดูก การขาดวิตามินดี ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจ โรคอ้วน เบาหวาน และโรคมะเร็งบางประเภท ผลตรวจพันธุกรรม จะเแสดงให้เห็นถึงสาเหตุของการขาดวิตามินดี และใช้ในการแนะนำปริมาณการบริโภคที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

  • วิตามินอี (Vitamin E Level)

วิตามินอีเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยบูสต์การผลิตคอลลาเจน คืนความชุ่มชื้นให้แก่ผิว รักษาผิวที่เสียหาย ลดริ้วรอย และช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามินอีละลายในไขมันและเมื่อใช้ไม่หมดจะถูกเก็บสะสมไว้ในตับ โดยทั่วไป การขาดวิตามินอีมีสาเหตุหลักมาจากพันธุกรรม ซึ่งไม่พบบ่อยนัก และอาจจะพบในผู้ที่ควบคุมและจำกัดปริมาณการบริโภคไขมัน อย่างไรก็ตาม การขาดหรือการมีวิตามินอีในร่างกายในระดับที่มากเกินไปจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม

ที่มารูป : freethink (2022)

Epigenetics

การค้นคว้าและทำความเข้าใจกับ epigenetics ทำให้เรารู้ว่า ดีเอ็นเอ นั้น มีความเชื่อมโยงกับ หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา … กล่าวคือ coded dna เปรียบเสมือน กรรม ที่ผู้นั้นได้กระทำมาแต่ชาติปางก่อน จดบันทึกลง dna strand สามพันล้านคู่สาย และ epigenetics หรือ ส่วนของดีเอ็นเอที่ไม่ได้ถูกเข้ารหัส ATCG นั้น เปรียบเสมือน กรรม ที่เกิดขึ้นจากการกระทำในช่วงชีวิตของมนุษย์ ในทางพุทธศาสนา epigen อาจเปรียบเสมือนตัวควบคุมการแสดงออกทางร่างกายและจิตใจ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง มนุษย์เรานั้นมีความสามารถ “โดยธรรมชาติ” ที่จะ master body & mind …. นักกีฬา ฝึกฝน well-trained ทำให้ gene แสดงออกเป็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรง และเซลล์สมองจดบันทึกทักษะทางกีฬาเอาไว้
ความเข้าใจศาสตร์จีโนมิกส์ หรือด้านพันธุกรรมมนุษย์ ทำให้เรามั่นใจมากขึ้นว่า พรสวรรค์ (จาก ยีน) และ พรแสวง (epigen) … นั้น มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ คำกล่าวที่ว่า เด็กเปรียบเสมือนผ้าสี (coded dna) อาจจะเป็นความจริง เพียงแต่ต้องการให้ผู้ใหญ่ทำให้สีนั้น ๆ แสดงออกมา (epigen) หรือทำให้สีนั้น มีความโดดเด่นและชัดเจนเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เค้าได้เติบโต สร้างเป้าหมายสู่ความสำเร็จ ตามสีที่เค้าเป็น
ที่มารูป : NIEHS

MOU

2 พฤษภาคม 2565 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย โดยนายแพทย์วัชรพงษ์ คำหล้า นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย ลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสาธารณสุขผ่านระบบเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่างสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย และกลุ่มบริษัท กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม

การลงนามในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาศูนย์เรียนรู้และระบบแพลตฟอร์มด้านสุขภาพ สำหรับการดูแลสุขภาพของบุคลากรสาธารณสุข การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และการดูแลสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัย ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุข และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในด้านการดูแลสุขภาพ ทักษะในด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และด้านอื่น ๆ ที่จะนำมาขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศ ต่อไป

ที่มา: หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นนิวส์

Agri-food ecommerce

แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสินค้าเกษตร

ความท้าทายในการออกแบบและพัฒนา กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม ให้สามารถรองรับการขายสินค้าเกษตรผ่านระบบอีคอมเมิร์ซ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร ประเภทผักสด ผลไม้ ของสด ประมงพื้นบ้าน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การผลิตเพื่อความพอมี พอกิน พอใช้ ก่อน และส่วนที่เหลือนำมาแบ่งปัน หรือขายให้กับผู้บริโภค ดังนั้น เราจึงไม่ทราบว่า สัปดาห์นี้จะมีสินค้าอะไรขายบ้าง และมีปริมาณเท่าไหร่ รวมทั้ง อาจไม่สามารถรู้ข้อมูลล่วงหน้า ตามกำหนดเวลาที่แน่นอนได้ ?

ทีมงานได้ออกแบบและพัฒนา กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม ผ่าน โมบายแอปพลิเคชัน KinYooDee ให้สามารถรองรับกับวิถีดังกล่าว โดย วิสาหกิจเพื่อสังคม วิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มเกษตรกร สามารถส่งข้อมูลรายการสินค้าและปริมาณที่จะขายเข้ามาในระบบ เพื่อให้ระบบทำการเปิดการขาย และปิดการขาย โดยอัตโนมัติ เมื่อสินค้ารายการนั้น ๆ ถูกขายออกไปและมีปริมาณสต็อกเท่ากับศูนย์ หรือปิดการขายเมื่อสินค้านั้น ๆ ถึงเวลา Cut-off time ที่ถูกตั้งค่าไว้ล่วงหน้า หลังจากนั้น ระบบแพลตฟอร์ม จะทำการตัดสต็อกของสินค้าที่คงเหลืออยู่ให้เป็นศูนย์ เพื่อรอรับข้อมูลรายการและปริมาณสินค้าที่ส่งมาเพื่อเปิดการขาย ในรอบถัดไป

KinYooDee Platform Feature Release: 2020-04-29

Thamturakit

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การพัฒนาโครงการเกษตรและอาหารปลอดภัย ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ระหว่าง บริษัท ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด และ กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ ทำขึ้นเมื่อวันที่ ….๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕…. ระหว่าง บริษัท ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด โดย นายพิเชษฐ โตนิติวงศ์ ตำแหน่ง ผู้จัดการไปทั่ว สำนักงานตั้งอยู่ที่ ๘/๒ หมู่ที่ ๔ ตำบลดอนฉิมพลี อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ๒๔๑๗๐
กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม โดย นายณกร อินทร์พยุง ตำแหน่งที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมและพัฒนาธุรกิจ สำนักงานตั้งอยู่ที่ ๗๙/๕๒๘ ถนนแสนสุข ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ๒๐๑๓๐ โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โดยมีสาระสำคัญดังนี้

๑) ร่วมกันสนับสนุนโครงการเกษตรและอาหารปลอดภัย การปลูกและผลิตสินค้าแบบธรรมชาติโดยปราศจากสารเคมี ให้พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

๒) ร่วมกันพัฒนาระบบบริหารจัดการซัพพลายเชน ระหว่าง คนกิน กับ คนปลูก และคนกลางคือ บริษัท ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด และ กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม โดย คนกินสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม กินอยู่ดี แล้ว บริษัท ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด เป็นผู้ส่งมอบผลผลิตจากเครือข่ายศิษย์ยักษ์กะโจน

๓) ร่วมมือกับส่วนราชการและองค์กรอื่น ๆ ในการสร้างภาคีเครือข่าย เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานทางธุรกิจเพื่อสังคม อย่างยั่งยืน

นายพิเชษฐ โตนิติวงศ์
ผู้จัดการไปทั่ว บริษัท ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด

นายณกร อินทร์พยุง
ที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมและพัฒนาธุรกิจ กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม

นายธันยวรวรรธน์ เฉลิมพัฒนาสุข
บริษัท ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด

นางสาวณภัค กิตติญาณนนท์
กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม

Private Store

แสดงสินค้าบางรายการ เฉพาะกลุ่มลูกค้า (Private Store) อาทิ สินค้าอ่อนไหว เครื่องดื่ม xx ยาตามใบสั่งแพทย์ สินค้าพิเศษเฉพาะสมาชิก ไอเท็มลับ ยกตัวอย่าง การประยุกต์ใช้งาน KinYooDee Private Store สำหรับจัดส่งวัตถุดิบอาหาร เฉพาะกลุ่มลูกค้า โรงพยาบาล ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ โรงแรมและรีสอร์ท ครัวกลาง (Catering)

#กินอยู่ดี

Eat Score

Eat Score เครื่องมือวัดคุณภาพการกิน (เต็ม 100)
• มากกว่า 80 -> Good diet
• 51 ถึง 80 -> Need dietary improvement
• น้อยกว่า 51 -> Poor

” โหลดแอพฯ KinYooDee ”

กินอยู่ดี แพลฟอร์ม ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้คนไทยสุขภาพดี
#กินอยู่ดี #EatScore #DietScore

App2022

Our KinYooDee App Development 2022 – Eat and Live Well

#Shop

ซื้อสินค้าเกษตร ผักสด ผลไม้ #ของสด อาหาร สินค้าเพื่อสุขภาพ จากเครือข่ายเกษตรกร บริหาร Food Supply Chain ผ่านศูนย์กระจายสินค้าชุมชน DC Platform

#Groupbuy

รวมกลุ่มกันซื้อประหยัดกว่า

#Sameday

จัดส่งสินค้าภายใน 1 วัน ภายในพื้นทีให้บริการ ผ่านตู้ล็อกเกอร์แช่เย็น #FreshBOX ตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ

#Subscribe

เพิ่มความสะดวกสบาย และได้สินค้าในราคาที่คุ้มค่าสำหรับสมาชิก

#Wallet

กระเป๋าเงินในรูปแบบ Utility token (เหรียญปลานิล) เฉพาะกลุ่มสมาชิกและพันธมิตรทางธุรกิจ Consortium Blockchain

#FoodLog

บันทึกสุขภาพ #นับแคล ข้อมูลสารอาหาร กิจกรรม #EatScore ภาวะสุขภาพ

#Nutrition

ข้อมูลโภชนาการเฉพาะบุคคล DNA-based diet

#SmartMobility

ผู้ช่วยการเดินทางอัจฉริยะ

#AIScan

Eating Index

ตัวชี้วัดในการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
 
ความพยายามของระบบสาธารณสุขทั่วโลก ต้องการให้ประชาชนในประเทศมีสุขภาพดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการรับประทานอาหาร และได้สร้างเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะช่วยแนะนำและประเมินการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อาทิเช่น อาหารหลัก 5 หมู่ Food Pyramid, Dash Diet, Recommended Food Score (RFS), Mediterranean Diet Score (MDS), Healthy Diet Indicator (HDI), Health Eating Index (HEI) และ MyPlate เป็นต้น ทั้งนี้ ทุกตัวชี้วัดจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน คือ ความครบถ้วนของสารอาหารที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน รวมทั้ง สัดส่วนระหว่างการบริโภคเนื้อสัตว์และผักผลไม้ที่เหมาะสม ซึ่งแต่ละตัวชี้วัดจะมีรายละเอียดของสารอาหารและปริมาณที่แนะนำในการบริโภค และวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งานแตกต่างกันไป
 
ตัวชี้วัดในการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ที่น่าสนใจคือ HEI ที่ถูกพัฒนาโดยศูนย์นโยบายและส่งเสริมด้านโภชนาการ ประเทศสหรัฐอเมริกา และถูกนำมาพัฒนาต่อยอดโดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Harvard ที่มีชื่อว่า Alternative Healthy Eating Index (AHEI2010) ซึ่งเป็นดัชนีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการวัดคุณภาพของการรับประทานอาหารที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพที่ดี และการช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคเรื้อรัง (Chronic diseases) โดยผลงานวิจัยจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า AHEI และการเกิดโรคเรื้อรัง อาทิเช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือด (CVD) โรคหัวใจล้มเหลว โรคมะเร็งบางชนิด ฯลฯ มีความสัมพันธ์กันมาก อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ผลจากงานวิจัยยังสามารถนำมาใช้ในการคาดการณ์ความเสี่ยงและใช้เป็นแนวทางในการป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ รวมทั้งใช้ในการกำหนดนโยบายด้านสาธารณะสุขที่เหมาะสม อย่างมีประสิทธิภาพ
 
การพัฒนาตัวชี้วัดในการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ตามแนวทางของ AHEI2010 แบ่งองค์ประกอบออกเป็น 10 ข้อด้วยกัน โดยแต่ละข้อมีคะแนนเต็ม 10 และมีคะแนนรวม 100 คะแนน โดยที่
• คะแนน มากกว่า 80 หมายถึง Good diet
• คะแนน ระหว่าง 51 – 80 หมายถึง Need dietary improvement และ
• คะแนน น้อยกว่า 51 หมายถึง Poor
Dietary Score
* [ ] คือปริมาณที่บริโภคในแต่ละวัน [0] หมายถึง ไม่ได้รับประทาน
 
1. Whole fruit: [0] = 0 คะแนน, [>= 4 servings/d] = 10 คะแนน
2. Sugar-sweeten beverages & fruit juice: [>=8 oz/d] = 0, [0] = 10
3. Total vegetables: [0] = 0, [>=2.5 cups/d] = 10
4. Whole grains: [0] = 0, [Women [75g/d], Men [90g/d] = 10
5. Nuts and legumes: [0] = 0, [>=1 oz/d] = 10
6. Red and/or processed meat: [>=1.5 servings/d] = 0, [0] = 10
7. Long-chain w-3 fats: [0] = 0, [>=250 mg/d] = 10
8. PUFAs: [<=5 g/d] =0, [>=23 g/d] = 10
9. Sodium: [>2300 mg/d] = 0, [1500-2300 mg/d] = 10
10. Alcohol: [Women 0 or >=2.5 drinks/d, Men [0 or >=3.5 drinks/d} = 0, [Women [0.5 – 1.5 drinks/d, Men [0.5 – 2.0 drinks/d] = 10
 
เตรียมพบกับ #ตัวชี้วัดในการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ Healthy Eating Index หรือ #การประเมินภาวะโภชนาการ (การประเมินอาหารบริโภค) Dietary assessment โดยผ่านแอพ #KinYooDee เร็ว ๆ นี้ !!!
 
KinYooDee – Eat and Live Well เป็นการรีแบรนด์แอพ iOrderFresh by iOrder เดิม เพื่อให้ภาพลักษณ์แบรนด์มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ครอบคลุมการกินดี อยู่ดี
Source: AHEI2010, Photo: Forbes Eating Healthier

Checkup

จากการเริ่มต้นมีสุขภาพที่ดี ตั้งเป้าหมาย ลดน้ำหนัก นับแคล ควบคุมสารอาหาร ตรวจวัดสุขภาพ ให้ iOrder – FoodLog ช่วยดูแลสุขภาพคุณ แอปพลิเคชัน Android และ iOS