Thamturakit

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การพัฒนาโครงการเกษตรและอาหารปลอดภัย ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ระหว่าง บริษัท ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด และ กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ ทำขึ้นเมื่อวันที่ ….๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕…. ระหว่าง บริษัท ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด โดย นายพิเชษฐ โตนิติวงศ์ ตำแหน่ง ผู้จัดการไปทั่ว สำนักงานตั้งอยู่ที่ ๘/๒ หมู่ที่ ๔ ตำบลดอนฉิมพลี อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ๒๔๑๗๐
กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม โดย นายณกร อินทร์พยุง ตำแหน่งที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมและพัฒนาธุรกิจ สำนักงานตั้งอยู่ที่ ๗๙/๕๒๘ ถนนแสนสุข ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ๒๐๑๓๐ โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โดยมีสาระสำคัญดังนี้

๑) ร่วมกันสนับสนุนโครงการเกษตรและอาหารปลอดภัย การปลูกและผลิตสินค้าแบบธรรมชาติโดยปราศจากสารเคมี ให้พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

๒) ร่วมกันพัฒนาระบบบริหารจัดการซัพพลายเชน ระหว่าง คนกิน กับ คนปลูก และคนกลางคือ บริษัท ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด และ กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม โดย คนกินสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม กินอยู่ดี แล้ว บริษัท ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด เป็นผู้ส่งมอบผลผลิตจากเครือข่ายศิษย์ยักษ์กะโจน

๓) ร่วมมือกับส่วนราชการและองค์กรอื่น ๆ ในการสร้างภาคีเครือข่าย เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานทางธุรกิจเพื่อสังคม อย่างยั่งยืน

นายพิเชษฐ โตนิติวงศ์
ผู้จัดการไปทั่ว บริษัท ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด

นายณกร อินทร์พยุง
ที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมและพัฒนาธุรกิจ กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม

นายธันยวรวรรธน์ เฉลิมพัฒนาสุข
บริษัท ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด

นางสาวณภัค กิตติญาณนนท์
กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม

App2022

Our KinYooDee App Development 2022 – Eat and Live Well

#Shop

ซื้อสินค้าเกษตร ผักสด ผลไม้ #ของสด อาหาร สินค้าเพื่อสุขภาพ จากเครือข่ายเกษตรกร บริหาร Food Supply Chain ผ่านศูนย์กระจายสินค้าชุมชน DC Platform

#Groupbuy

รวมกลุ่มกันซื้อประหยัดกว่า

#Sameday

จัดส่งสินค้าภายใน 1 วัน ภายในพื้นทีให้บริการ ผ่านตู้ล็อกเกอร์แช่เย็น #FreshBOX ตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ

#Subscribe

เพิ่มความสะดวกสบาย และได้สินค้าในราคาที่คุ้มค่าสำหรับสมาชิก

#Wallet

กระเป๋าเงินในรูปแบบ Utility token (เหรียญปลานิล) เฉพาะกลุ่มสมาชิกและพันธมิตรทางธุรกิจ Consortium Blockchain

#FoodLog

บันทึกสุขภาพ #นับแคล ข้อมูลสารอาหาร กิจกรรม #EatScore ภาวะสุขภาพ

#Nutrition

ข้อมูลโภชนาการเฉพาะบุคคล DNA-based diet

#SmartMobility

ผู้ช่วยการเดินทางอัจฉริยะ

#AIScan

Global Partnership

เจรจาความร่วมมือระหว่าง กิน-อยู่-ดี แพลตฟอร์ม และ NAVER Cloud ประเทศเกาหลีใต้ ภายใต้โครงการ Global Partnership Programe
โดยมุ่งเน้นความร่วมมือทางด้าน Healthcare service และ Medical AI อาทิเช่น FoodLens บันทึกเมนูอาหารและสารอาหารจากรูปถ่าย ichrogene วิเคราะห์ข้อมูลจากดีเอ็นเอ Lunit วินิจฉัยโรคแบบแม่นยำ FeverCoach โมบายแอพ สำหรับการเฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่ในเด็ก และ VUNO โซลูชัน Medical AI devices and imaging

weSAFE@Home

ที่สุดของความภาคภูมิใจของเรา ….. กว่า 60 โรงพยายาล ใน 11 จังหวัดทั่วประเทศที่ใช้งานระบบ weSAFE@Home ในการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวที่บ้าน”กิน-อยู่-ดี แพลตฟอร์ม” https://www.kin-yoo-dee.com/wesafe-home

Ecosystem

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) เข้าเยี่ยมชม กิน-อยู่-ดี แพลตฟอร์ม Kin-Yoo-Dee Ecosystem Platform _ Oct 6, 2021

BlueMango

เราได้ออกแบบและวางแผนงานก่อสร้างโครงการสำนักงานใหม่ ภายใต้ชื่อ BlueMango – Inspiring Space ซึ่งนอกจากจะใช้เป็นพื้นที่สำนักงานสำหรับทีมพัฒนาซอฟต์แวร์และบุคคลากรด้านอื่น ๆ ด้านโปรแกรมร้านอาหารอัจฉริยะ (Smart Restaurant Supply Chain) สถานที่แห่งนี้จะถูกใช้เพื่อการจัดอีเวนต์สำคัญต่าง ๆ อาทิเช่น Food Event, TechTalk, Creative and Innovation Workshop

Craftbeer

สร้างโมเดลทางธุรกิจ Craft Beer Box โดยใช้ตู้ตอนเทนเนอร์ (ตู้สั้น) ขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 6 เมตร  (สูง 2.6 เมตร) เพื่อให้ง่ายต่อการขนย้าย และการวางตำแหน่งในพื้นที่ชุมชน รวมทั้ง การประยุกต์ใช้ระบบ iorder อย่างเต็มรูปแบบ อาทิเช่น ระบบขายหน้าร้าน (Tablet POS) การจัดการวัตถุดิบ ระบบจัดการครัว สต็อก บัญชีต้นทุน การจองและสั่งอาหารล่วงหน้า การจัดส่งและเดลิเวอรี่ เปิดให้ผู้สนใจร่วมลงทุนและบริหารกิจการ คราฟเบียร์และร้านอาหาร ซึ่งมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 3xx,xxx ต่อสาขา (รูปแผนผังร้าน Plan) นอกจากนี้ ไอออเดอร์ยังให้บริการออกแบบและก่อสร้างร้านอาหารสำเร็จรูปโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์สำหรับผู้สนใจทั่วไป

 

Smart Retail

ระบบจัดการค้าปลีกอัจฉริยะ (Smart Retail) เป็นการบูรณาการงานวิจัยและนวัตกรรมภายใต้โครงการ Smart Supply Chain และ Trading  Business Simulation Game โดยสร้างต้นแบบในโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ภายใต้โครงการ Smart Retail ครอบคลุม 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่

  • Null Stock: ระบบเติมเต็มวัตถุดิบโดยอาศัยระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)พยากรณ์ยอดขาย ประมาณความต้องการวัตถุดิบ และควบคุมวัตถุดิบ/สินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับ 0 (Null) เพื่อลดความสูญเสียวัตถุดิบ (Food waste) ลดต้นทุนการสั่งซื้อ/ต้นทุนวัตถุดิบ และต้นทุนสินค้าคงคลัง
  • Smart Booking & Delivery: ระบบเดลิเวอรี่ภายชุมชน รวมทั้งการจอง/สั่งล่วงหน้า (Pickup order/ Pre-order booking) จัดลำดับส่งสินค้าและบริการ โดยมีฟังก์ชันวัตถุประสงค์ เพื่อให้ต้นทุนในการส่งมอบสินค้าต่ำที่สุด ภายใต้เงื่อนไข ข้อจำกัด และความต้องการของลูกค้า
  • Recommender: ระบบแนะนำสินค้าและบริการ โดยสังเคราะห์ข้อมูลการสั่งซื้อ วิเคราะห์ความเชื่อมโยงพฤติกรรมของลูกค้าในรูปแบบโครงข่ายความสัมพันธ์ เพื่อแนะนำสินค้าที่ตรงกับความต้องการเฉพาะบุคคล อาทิเช่น เมนูแนะนำ โปรโมชั่น Menu pairing, Set meal และ Social recommend เพื่อเพิ่มยอดขายสินค้าและบริการ
  • Blockchain: ระบบควบคุมความปลอดภัย (Food safety) การสร้างความน่าเชื่อถือของชัพพลายเออร์ และ Smart contract ใน Food supply chain โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ภายใต้โครงการจะจัดซื้อวัตถุดิบจากเกษตรกร/ ผู้ผลิตภายในชุมชนโดยตรง (Farm-to-table) เพื่อสร้างความมีส่วนร่วมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน

ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการ

  • เพื่อสร้าง Playground สำหรับการทดลอง วิจัยและพัฒนานวัตกรรมระบบ Smart Retail
  • เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ ระบบจัดการโซ่อุปทานสมัยใหม่ สำหรับร้านค้าปลีกและธุรกิจบริการ
  • เพื่อนำผลลัพธ์ของโครงการไปต่อยอด งานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม รวมทั้งการขยายผลในเชิงพาณิชย์
  • เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาล Thailand 4.0/ EEC และ New S-Curve (อุตสาหกรรมโลจิสติกส์)
  • เพื่อสนับสนุนการมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน = สิ่งแวดล้อม (ลดของเสีย/ Food waste) + ความมีส่วนร่วม (Trusted supplier network) + เศรษฐกิจชุมชน (Farm-to-table)

Simulation

ปัจจุบัน การบริหารโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมการผลิตมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากความไม่แน่นอนของปัจจัยหลัก  4 ตัว ได้แก่ อุปทาน (Supply) อุปสงค์ (Demand) ปริมาณวัตถุดิบ/สินค้าคงคลัง (Inventory) และสภาพเศรษฐกิจ (Economy) ดังนั้น ความรู้และความเข้าใจการจัดการโลจิสติกส์ และการบริหารโซ่อุปทาน จะช่วยลดต้นทุนในการผลิต เพิ่มผลกำไร และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันขององค์กรได้

TradeSim มีจุดเด่นและแตกต่างเกมจำลองอื่น ๆ เนื่องจากเป็นระบบสารสนเทศเชิงบูรณาการ โดยผนวกกับแบบจำลองโซ่อุปทาน (Supply chain simulation) เกมในภาคธุรกิจ (Business game) และการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics management) อาทิเช่น การซื้อขายวัตถุดิบหรือ Product ในเทอมการค้าต่าง ๆ เช่น FOB FCA หรือ CIF การบริหารวัตถุดิบ/สินค้าคงคลัง การบริหารค่าระวางการขนส่งสินค้า การซื้อซื้อขายวัตถุดิบหรือ Product แบบ Physical หรือ Paper (ซื้อขายตัวเลขกันแบบไม่มีสินค้าจริง) หรือการซื้อขายในตลาดล่วงหน้า ทั้งแบบ Fix และ Float (ราคาล่วงหน้าที่วันปัจจุบัน + x บาท) เป็นต้น ระบบที่พัฒนาขึ้นเป็นการเชื่อมต่อข้อมูลผู้เล่นทั้งหมดไว้ด้วยกันแบบเรียลไทม์ และ Fully synchronization สามารถจำลองสถานการณ์ นโยบาย และกลยุทธ์ในการจัดการและบริหารโซ่อุปทานสมัยใหม่ รวมถึงการผสมผสานระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เข้ามาในเกมจำลองการบริหารโซ่อุปทานในการวิเคราะห์ข่าวจากสื่อออนไลน์ (Web and text mining) ข้อมูลราคาตลาด พยากรณ์แนวโน้ม โดยอาศัยข้อมูล Supply, Demand, Inventory และ Economic จากสถานการณ์โลก เพื่อให้ระบบปฏิบัติการจำลองมีความเสมือนจริงมากที่สุด

หลังจบเกม Admin สามารถดูสรุปผลการเล่นในด้านต่าง ๆ สรุปผลรวมของแต่ละผู้เล่น กำไรที่ทำได้ จำนวนวัตถุดิบและสินค้าที่เหลือในคลัง การซื้อขายรวม จำนวนการซื้อขาย และเงินที่เหลือ การสรุปผลในแต่ละ Period จำนวนการซื้อขายและมูลค่าการซื้อขายในแต่ละ Period แบ่งตามผู้เล่น และ Product ชนิดต่าง ๆ รวมถึงรายละเอียดในแต่ละ Order และพฤติกรรมการซื้อขายของผู้เล่น