e-Commerce API

เปิดให้บริการเชื่อมต่อ api ระหว่างระบบอีคอมเมิร์ซ (หรือระบบการขายสินค้าอื่น ๆ) ของหน่วยงานภายนอก* และระบบบริหารจัดการศูนย์กระจายสินค้าของ iOrderFresh เพื่อส่งต่อสินค้าเกษตร-อาหาร จากฟาร์มสู่เมือง
    • ระบบการขาย ผ่านอีคอมเมิร์ซ iOrder – Mobile Order and Pay
    • ระบบการขาย ผ่านตู้ล็อกเกอร์ควบคุมอุณหภูมิ FreshBOX
    • ระบบการขาย รวมกลุ่มกันซื้อ Groupbuy
    • ระบบการขาย เติมเต็มวัตถุดิบ iOrder – Stock Replenishment
    • ระบบจัดการซัพพลายเออร์ FarmFresh
    • ระบบซื้อของ-จ่ายตลาด iOrderBUY
    • ระบบจัดการศูนย์กระจายสินค้าและบริหารการจัดส่ง iOrderFresh
    • ระบบสำหรับพนักงานขนส่ง iOrderGO
*ขอสงวนสิทธิ์เฉพาะ วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม สหกรณ์การเกษตร หรือมูลนิธิฯ

Wallet

ขุดบ่อเตรียมเลี้ยงปลานิล – My Wallet สำหรับ NINFISH COIN เหรียญปลานิล ปลาแห่งพระราชา ปลาพระราชทานจากพ่อ (ในหลวงรัชกาลที่ 9) เพื่อปากท้องของคนไทย ปลาที่พ่อเลี้ยงให้ลูกทุกคนได้กิน แหล่งโปรตีนราคาถูกที่ทุกคนเข้าถึง ปลานิล สัญลักษณ์แห่งความเท่าเทียม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง #เหรียญปลานิล #กองทุนปลานิล

Personalized Nutrition

เปิดให้บริการ DNA-Based Diets รูปไอคอนดีเอ็นเอยิ้มตัวน้อย ที่แปะอยู่หลังชื่อสารอาหารและเมนูอาหาร ช่วยบ่งชี้ภาวะทางโภชนาการที่เหมาะกับแต่ละบุคคล – โดยธรรมชาติแล้ว ดีเอ็นเอหรือสารพันธุกรรม ของแต่บุคคล ถูกกำหนดโดย 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และรูปแบบการใช้ชีวิต (ไลฟ์สไตล์) ความก้าวหน้าทางด้านชีวสารสนเทศ อาศัยการเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอ ง่าย ๆ โดยการ Swap เซลล์เนื้อเยื่อจากกระพุ้งแก้ม และใช้ข้อมูลผลตรวจดีเอ็นเอ ที่มีลำดับเบสบนสาย DNA เปลี่ยนแปลงไปจาก DNA สายอ้างอิง ในการบ่งชี้ความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง รวมทั้งบ่งชี้ภาวะทางโภชนาการ เช่น ความไวต่อสารอาหาร การขาดสารอาหาร และสารอาหารที่ส่งเสริมต่อการมีสุขภาพดี ของแต่ละบุคคล – ผู้สนใจสามารถส่งรายงานผลการตรวจดีเอ็นเอของแต่ละบุคคล ในรูปแบบ Variant Call Format (VCF) หรืออนุญาตการเชื่อมต่อ API จากผู้ให้บริการตรวจดีเอ็นเอ กับแอปพลิเคชัน KinYooDee เพื่อแนะนำสารอาหารและเมนูอาหารที่เหมาะสมกับดีเอ็นเอเฉพาะบุคคลได้

Menu Mapping

Map menu เป็นฟังก์ชันพิเศษที่ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถประมาณวัตถุดิบ (Ingredients) ที่ใช้ไปในแต่ละวันจากยอดขายอาหาร โดยไม่ต้องป้อนข้อมูลวัตถุดิบของแต่ละเมนูอาหาร ระบบไอออเดอร์จะเชื่อมโยงเมนูอาหารที่ไม่มีข้อมูลรายการวัตถุดิบกับ Global menu ที่มีรายการวัตถุดิบอยู่ในระบบฐานข้อมูล ดังนั้น เมื่อทราบปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ไปในแต่ละวัน ร้านอาหารสามารถคาดการณ์ปริมาณสั่งซื้อวัตถุดิบและควบคุมวัตถุดิบคงคลังได้อย่างเหมาะสม และร้านอาหารสามารถอัพเดทข้อมูลปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ในแต่ละเมนูใน Local menu ของร้านได้ตลอดเวลาในภายหลัง เพื่อให้การประมาณค่าปริมาณการใช้วัตถุดิบมีความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น

BlueMango

เราได้ออกแบบและวางแผนงานก่อสร้างโครงการสำนักงานใหม่ ภายใต้ชื่อ BlueMango – Inspiring Space ซึ่งนอกจากจะใช้เป็นพื้นที่สำนักงานสำหรับทีมพัฒนาซอฟต์แวร์และบุคคลากรด้านอื่น ๆ ด้านโปรแกรมร้านอาหารอัจฉริยะ (Smart Restaurant Supply Chain) สถานที่แห่งนี้จะถูกใช้เพื่อการจัดอีเวนต์สำคัญต่าง ๆ อาทิเช่น Food Event, TechTalk, Creative and Innovation Workshop

Operations Flow

ปัจจุบัน iOrder รองรับการทำงานของร้านอาหาร (Operations flow) ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ ร้านอาหารประเภท Dine-in และร้านอาหารประเภทคาเฟ่ และฟู้ดทรัค (ดังแสดงในรูปด้านล่าง) รูปแบบการทำงานของร้านแบบ Dine-in หรือ Full service เริ่มจากพนักงานรับออเดอร์จากลูกค้า พ่อครัวปรุงอาหาร พนักงานเสิร์ฟอาหาร ลูกค้าเรียกชำระเงิน ร้านอาหารออกใบเรียกเก็บเงินและใบเสร็จ

 

สำหรับร้านอาหารประเภทคาเฟ่และฟู้ดทรัค (Café/Food Truck) จะมีขั้นตอนการทำงานที่แตกต่างกับร้านอาหารประเภท Dine-in ในขั้นตอนการทำงานหลัก ๆ คือ ลูกค้าชำระเงินก่อนได้รับอาหาร ซึ่งลูกค้าจะรับอาหารที่เคาเตอร์หรือพนักงานเสิร์ฟที่โต้ะก็ได้ (ดังแสดงในรูปด้านล่าง) นอกจากนี้ ไอออเดอร์ยังสามารถประยุกต์ใช้กับร้านอาหารประเภท Fast food และตู้ Kiosk เลือกเมนูและชำระเงินค่าอาหาร ได้

 

สังเกตด้วยว่า ไอออเดอร์สามารถตั้งค่า ยกเลิกขั้นตอนการเรียกเก็บเงิน (Skip invoicing) ทั้งในรูปแบบ Dine-in และ Café/Food Truck รวมถึง การตั้งค่าการออกใบเสร็จในรูปแบบต่าง ๆ ตามความต้องการในการใช้งานของร้านอาหาร

 

Offline Mode

Offline Mode เป็นฟังก์ชันที่ช่วยให้ร้านอาหารสามารถใช้ระบบ iCounter (Tablet POS) ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถึงแม้จะประสบปัญหาการเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ต เน็ทไม่เสถียร ความเร็วตก หลุดบ่อย หรือเชื่อมต่อไม่ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ในการทำงานระบบฯ จะเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำภายในตัวเครื่อง และทำการซิงค์ (Synchronize) ข้อมูลเมื่อการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ทกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยอัตโนมัติ

เมื่อตั้งค่า Setting ใน iCounter เป็น Offline Mode (เวอร์ชัน 4.0.0 เป็นต้นไป) ร้านอาหารยังคงสามารถใช้งาน iCounter รับออเดอร์ลูกค้า พิมพ์เมนูสลิปสั่งทำอาหาร ใบเรียกเก็บเงิน และใบเสร็จรับเงิน ออกจากเครื่องพิมพ์ได้ปกติ (ทั้งในกรณีการเชื่อมต่อเครื่องพิมพ์ 1 เครื่อง (หรือหลาย ๆ เครื่อง) ด้วยสาย LAN เข้า Router หรือในกรณีที่ iCounter เชื่อมต่อเครื่องพิมพ์แบบบูลทูธโดยตรง อย่างไรก็ตาม เมื่อเปิดใช้งาน Offline Mode ร้านอาหาร (รวมทั้งลูกค้า) จะไม่สามารถสั่งอาหารโดยใช้สมาร์ทโฟนโดยแอพฯ KinYooDee ได้

สังเกตด้วยว่า เราออกแบบเพื่อสนับสนุนระบบโซ่อุปทานอัจฉริยะสำหรับร้านอาหาร (Smart Supply Chain) สำหรับเชื่อมต่อระหว่างลูกค้า (Mobile ordering, Pre-order booking, Customer rewards/ Valued pricing, Food delivery และ Local e-Commerce) ซัพพลายเออร์ (Stock replenishment) และร้านอาหาร นั่นคือ ร้านอาหารมีความจำเป็นต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบฯ ให้สามารถใช้งานได้อย่างราบรื่น ในการวิจัยและพัฒนา จะมุ่งเน้นการพึ่งพาการใช้อินเทอร์เน็ตให้น้อยที่สุด (ปัจจุบันสามารถใช้ เน็ทจาก SIM โทรศัพท์ได้ โดยรองรับความเร็วตั้งแต่ 2G หรือ GSM ขึ้นไป) ซึ่งร้านอาหารยังคงสามารถใช้งานระบบฯได้ แม้ในกรณีที่ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตในบางช่วงเวลา

Craftbeer

สร้างโมเดลทางธุรกิจ Craft Beer Box โดยใช้ตู้ตอนเทนเนอร์ (ตู้สั้น) ขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 6 เมตร  (สูง 2.6 เมตร) เพื่อให้ง่ายต่อการขนย้าย และการวางตำแหน่งในพื้นที่ชุมชน รวมทั้ง การประยุกต์ใช้ระบบ iorder อย่างเต็มรูปแบบ อาทิเช่น ระบบขายหน้าร้าน (Tablet POS) การจัดการวัตถุดิบ ระบบจัดการครัว สต็อก บัญชีต้นทุน การจองและสั่งอาหารล่วงหน้า การจัดส่งและเดลิเวอรี่ เปิดให้ผู้สนใจร่วมลงทุนและบริหารกิจการ คราฟเบียร์และร้านอาหาร ซึ่งมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 3xx,xxx ต่อสาขา (รูปแผนผังร้าน Plan) นอกจากนี้ ไอออเดอร์ยังให้บริการออกแบบและก่อสร้างร้านอาหารสำเร็จรูปโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์สำหรับผู้สนใจทั่วไป

 

Room Service

26 กุมภาพันธ์ 2561 ทีมงานได้เข้าติดตั้งระบบ ณ สถานตากอากาศแสนสุข ที่พักในตำนานยอดฮิตติดหาดบางแสน ชลบุรี จำนวน 85 ห้อง สำหรับบริการภายในห้องพัก (Room service) ในบังกะโล โดยนักท่องเที่ยวสามารถสั่งอาหาร และบริการต่าง ๆ ของโรงแรม ได้อย่างสะดวกสบาย ผ่านโมบายแอปพลิเคชัน และทางโรงแรมลดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์เมนูสี รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงเมนูและราคา สามารถทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ระบบยังอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวในการซื้อของฝาก บริการ และโลคอลอีเวนต์ในรอบ ๆ ที่พัก ทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในชุมชนอีกทางหนึ่ง

 

 

 

 

Smart Retail

ระบบจัดการค้าปลีกอัจฉริยะ (Smart Retail) เป็นการบูรณาการงานวิจัยและนวัตกรรมภายใต้โครงการ Smart Supply Chain และ Trading  Business Simulation Game โดยสร้างต้นแบบในโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ภายใต้โครงการ Smart Retail ครอบคลุม 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่

  • Null Stock: ระบบเติมเต็มวัตถุดิบโดยอาศัยระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)พยากรณ์ยอดขาย ประมาณความต้องการวัตถุดิบ และควบคุมวัตถุดิบ/สินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับ 0 (Null) เพื่อลดความสูญเสียวัตถุดิบ (Food waste) ลดต้นทุนการสั่งซื้อ/ต้นทุนวัตถุดิบ และต้นทุนสินค้าคงคลัง
  • Smart Booking & Delivery: ระบบเดลิเวอรี่ภายชุมชน รวมทั้งการจอง/สั่งล่วงหน้า (Pickup order/ Pre-order booking) จัดลำดับส่งสินค้าและบริการ โดยมีฟังก์ชันวัตถุประสงค์ เพื่อให้ต้นทุนในการส่งมอบสินค้าต่ำที่สุด ภายใต้เงื่อนไข ข้อจำกัด และความต้องการของลูกค้า
  • Recommender: ระบบแนะนำสินค้าและบริการ โดยสังเคราะห์ข้อมูลการสั่งซื้อ วิเคราะห์ความเชื่อมโยงพฤติกรรมของลูกค้าในรูปแบบโครงข่ายความสัมพันธ์ เพื่อแนะนำสินค้าที่ตรงกับความต้องการเฉพาะบุคคล อาทิเช่น เมนูแนะนำ โปรโมชั่น Menu pairing, Set meal และ Social recommend เพื่อเพิ่มยอดขายสินค้าและบริการ
  • Blockchain: ระบบควบคุมความปลอดภัย (Food safety) การสร้างความน่าเชื่อถือของชัพพลายเออร์ และ Smart contract ใน Food supply chain โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ภายใต้โครงการจะจัดซื้อวัตถุดิบจากเกษตรกร/ ผู้ผลิตภายในชุมชนโดยตรง (Farm-to-table) เพื่อสร้างความมีส่วนร่วมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน

ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการ

  • เพื่อสร้าง Playground สำหรับการทดลอง วิจัยและพัฒนานวัตกรรมระบบ Smart Retail
  • เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ ระบบจัดการโซ่อุปทานสมัยใหม่ สำหรับร้านค้าปลีกและธุรกิจบริการ
  • เพื่อนำผลลัพธ์ของโครงการไปต่อยอด งานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม รวมทั้งการขยายผลในเชิงพาณิชย์
  • เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาล Thailand 4.0/ EEC และ New S-Curve (อุตสาหกรรมโลจิสติกส์)
  • เพื่อสนับสนุนการมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน = สิ่งแวดล้อม (ลดของเสีย/ Food waste) + ความมีส่วนร่วม (Trusted supplier network) + เศรษฐกิจชุมชน (Farm-to-table)