Playground day

KinYooDee Playground Day แพลตฟอร์มการดูแลสุขภาพแบบครบวงจร Product highlight showcases, case study seminar and hands-on workshop, June 26, 2023 @EastPark BUU

Sustainable energy

Industry and lab visit: เข้าเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าแบบสูบกลับ Water battery storage พลังงานลม (Wind farm) ศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา กฟผ. ต้นแบบระบบจัดเก็บพลังงานไฮโดรเจนและเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cell) และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เพื่อเรียนรู้จากประสบการณ์และแสวงหาความร่วมมือในการพัฒนาด้านพลังงานอย่างยั่งยืน สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตรและภาคการขนส่ง

Virtual PGxCard

บัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงข้อมูลการแพ้ยาและการปรับขนาดยาที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการคัดกรอง การดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน และการรักษาผู้ป่วย References: Pharmaco-genotyping and dosing follows CPIC/DPWG guidelines > Aldy: star-allele, e.g. CYP2D6 > HLA: HiSAT genotype/MaxSAT2

Drinkable dishwasher

Factory and Lab Visit เข้ายี่ยมชมโรงงานผลิตอาหาร ริมดอยการเกษตร ผลิตน้ำจิ้มซีฟู้ด น้ำจิ้มสุกี้ เครื่องปรุงรส OME ให้กับแบรนด์ชั้นนำมากมาย … บริษัทฯ ได้ให้ความอนุเคราะห์ เศษวัตถุดิบสับปะรด เพื่อนำมาใช้ในโครงการวิจัย น้ำยาล้างจาน “ดื่มได้” โดยนำเศษสับปะรดมาหมักเพื่อให้เป็นอาหารแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ (ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ) กินเป็นอาหารและผลิตสาร Biosurfactant เพื่อใช้ ในกระบวนการผลิต “น้ำยาล้างจานดื่มได้” จากนั้น ได้เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ Bio-molecular ภาควิชาวิศวกรรมเคมี ม.บูรพา เพื่อแสวงหาความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาเพื่อแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร โดยสร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าสินค้า ให้เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง

Decoding the gut universe

Joined academic conference “Decoding the gut universe, unveiling secret of health we never know” เทคโนโลยีการตรวจความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้และความหลากหลายของจุลินทรีย์ Organized by Hausen Bernstein, June 8, 2023 @ Eastin Grand Hotel Sathorn Bangkok

KinYooDee playground

Kin-Yoo-Dee Platform Playground Day สัมผัสแพลตฟอร์มทางด้านสุขภาพแะการแพทย์แบบครบวงจร @ East Science Park, June 26, 2023

 

Bioinformatics workshop

Joined workshop and seminar on Bioinformatics and Genomic Medicine: The trends of the population genomics project and how can it be extended in the industry? ” ทิศทางการพัฒนาโครงการพันธุศาสตร์ประชากร และการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการแพทย์ ” Honorable speaker: Tim Hubbard, Professor of Bioinformatics, King’s College London, 31 May – 1 June 2023 @คณะเภสัชฯ มหาวิทยาลัยบูรพา

Gut Bacteria

ความไม่สมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ ทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน

ไม่กี่ปีที่ผ่าน ผลงานวิจัยจำนวนมากได้บ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างแบคทีเรียในลำไส้ กับภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน อย่างมีนัยสำคัญ โดยใช้วิธีการตรวจจุลินทรีย์ในลำไส้พบว่า ผู้ที่มีแบคทีเรียในกลุ่ม Firmicutes มากกว่ากลุ่ม Bacteroidetes มีแนวโน้มทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ในทางตรงข้าม ผู้ที่มีแบคทีเรียในกลุ่ม Bacteroidetes มาก จะส่งผลให้มีน้ำหนักตัวน้อย

แบคทีเรียในลำไส้ (Gut bacteria) มีทั้งชนิดดีที่ช่วยการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพดี โดยทั่วไปมักเรียกรวม ๆ ว่า โปรไบโอติกส์ (Probiotics) แบคทีเรียป้องกันโรค (Protective) หรือ แบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ (Beneficial bacteria) และแบคทีเรียที่ไม่เป็นประโยชน์หรือก่อให้เกิดโรค ซึ่งอาจเรียกว่า Harmful bacteria โดยทั่วไป แบคทีเรียในลำไส้ สามารถแบ่งตามโปรไฟล์ฟังก์ชันออกเป็น 6 ประเภทหลัก ๆ ด้วยกัน

    1. Butyrate producing bacteria: ทำหน้าที่ช่วยปรับสมดุลแบคทีเรียในลำไส้ รักษาระดับเมือกในผนังลำไส้ สร้างภูมิคุ้มกันโรค ป้องกันการติดเชื้อ และช่วยควบคุมกลไกการเผาผลาญพลังงาน
    2. Gut mucosa protective bacteria: เป็นกลุ่มแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในเมือกในผนังลำไส้ ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันโรค และป้องกันการติดเชื้อ
    3. Gut health marker เป็นแบคทีเรียตัวหลัก ๆ ในลำไส้ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ หรือมีความสัมพันธ์ต่อสุขภาพ อาทิเช่น Gut-brain axis, Gut-heart axis และ Gut-liver axis เป็นต้น
    4. Gut barrier protective เป็นกลุ่มแบคทีเรียที่ช่วยในการดูดซึมสารอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำหน้าเป็นกำแพงป้องกันแบคทีเรียก่อโรค และสร้างภูมิคุ้มในทางร่างกาย
    5. Pro-inflammatory เป็นกลุ่มแบคทีเรียที่กระตุ้นการอักเสบ เร่งการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งหรือตีบตัน ซึ่งทำงานตรงกันข้ามกับ Anti-inflammatory bacteria กลุ่มแบคทีเรียที่ต้านการอักเสบ
    6. Diversity เป็นความสมดุลของกลุ่มแบคทีเรียในลำไส้ โดยใช้การวัดค่าดัชนีความสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ (Dysbiosis Index: DI)

แบคทีเรียในลำไส้ กับการเกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน

Firmicutes และ Bacteroidetes เป็นกลุ่ม (Phylum) ของแบคทีเรียที่มีอยู่มากที่สุดในลำไส้ คิดเป็นร้อยละ 60 – 90 ของจำนวนแบคทีเรียในลำไส้ทั้งหมด (ประมาณ 100 พันล้านตัว) สัดส่วนของกลุ่มแบคทีเรีย Firmicutes ต่อ Bacteroidetes (F/B ratio) มาก จะกระตุ้นให้เกิดภาวะการอักเสบของหลอดเลือดแดง ร่างกายสามารถสร้างพลังงานจากอาหารได้มาก ส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดสูงขึ้น สัดส่วนของสองกลุ่มแบคทีเรียดังกล่าว ใช้เป็นดัชนีตัวหนึ่งที่ใช้ในการบ่งชี้ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน

นอกจากนี้ จากงานวิจัยพบว่า ผู้ที่มีแบคทีเรีย Akkermansia Muciniphila และ Faecalibacterium Prausnitzii ที่อาศัยอยู่ที่เมือกในผนังลำไส้จำนวนมาก จะช่วยทำให้ผนังลำไส้มีความหนาและแข็งแรง ช่วยกำจัดสารพิษและป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรียที่ไม่พึงประสงค์ รวมทั้งช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคและต้านการอักเสบ แบคทีเรียตัวดังกล่าว ยังช่วยให้ร่างกายย่อยน้ำตาลและไขมันได้อย่างมีสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และลดการสะสมของไขมันในร่างกาย ทำให้โอกาสการเกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนลดลง

สังเกตด้วยว่า ผู้ที่มี F/B ratio น้อย แม้จะมีโอกาสการเกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนน้อย แต่ก็จะมีโอกาสในการเกิดโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD) และเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ตามมา ดังนั้น การมีแบคทีเรียในลำไส้ในปริมาณที่เหมาะสม จึงส่งผลดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของแบคทีเรียในกลุ่ม (Phylum) อื่น ก็สามารถส่งผลกระทบต่อสัดส่วนแบคทีเรียในกลุ่ม F/B ด้วยเช่นกัน รวมทั้งสายพันธุ์ของแบคทีเรีย และส่วนผสม (Mixture) ของแบคทีเรีย ยังเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อความสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้

สาเหตุของการขาดหายไปของแบคทีเรีย

ความไม่สมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ (Dysbiosis) เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการมีสุขภาพดี โดยทั่วไป ปัญหาความไม่สมดุลของแบคทีเรียมักมีอาการบ่งชี้ทางร่างกาย อาทิเช่น เกิดลมในกระเพาะ ท้องอืด ปวดท้อง น้ำหนักขึ้นลงโดยไม่ได้เจตนา (Unintended weight fluctuations) ปัญหาผิวหนัง (สิว ผิวมัน รังแค ผิวหนังอักเสบ โรคกลาก สะเก็ดเงิน ผื่นคัน ภูมิแพ้เรื้อรัง แพ้อาหารทะเล/นม ตอนเริ่มมีอายุ) ปัญหาทางอารมณ์ เครียดง่าย ขาดสมาธิ เมื่อยล้า นอนไม่หลับ มีความอยากของหวาน และแก่กว่าวัย เป็นต้น สาเหตุของการเกิดความไม่สมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ สามารถสรุปได้ดังนี้

    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ที่เพิ่มปริมาณ โปรตีน น้ำตาล และไขมัน
    • การได้รับสารเคมี สิ่งปนเปื้อนหรือวัตถุเจือปนอาหาร อาทิเช่น ยากำจัดศัตรูพืช สารปรุงแต่งรส สารถนอมอาหาร วัตถุกันเสีย
    • ดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด
    • ยารักษาโรค หรือที่ปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ อาทิเช่น ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)
    • การมีสุขภาพปากและฟันที่ไม่ดี
    • ความเครียด

การปรับสมดุลแบคทีเรียในร่างกายเพื่อส่หงเสริมสุขภาพดี

การรับประทานอาหารและทำกิจกรรมหลากหลาย เป็นช้อแนะนำที่ง่ายที่สุด การตรวจจุลินทรีย์ในลำไส้เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยในการบ่งชี้ปัญหา เพื่อหาแนวทางแก้ไขและส่งเสริมสุขภาพได้อย่างตรงจุดและแม่นยำ การขาดข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพแบบแม่นยำ (Precision health literacy) อาจจะเกิดผลเสีย หรือผลที่ไม่พึงประสงค์ต่อสุขภาพ ยกตัวอย่างเช่น การบริโภคอาหารเสริมที่มีจุลินทรีย์บางสายพันธุ์ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจจะส่งผลให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน หรือโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ได้มากขึ้น หากผู้นั้นมีแบคทีเรียชนิดนั้น ๆ อยู่ในร่างกายในปริมาณที่เหมาะสมอยู่แล้ว

นอกจากแบคทีเรียชนิดดี (Probiotics) ซึ่งมีอยู่มากมายหลายสายพันธุ์ อาทิเช่น Lactobacillus Rhamnosus และ Bacillus Coagulans ช่วยย่อยแลคโตสและน้ำตาล Bifidobacterium ช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรทและไฟเบอร์ (พบในอาหารหมักดอง โยเกิร์ต นมเปรี้ยว) Streptococcus Thermophilus ช่วยย่อยโปรตีนและไขมัน (พบมากในนม ชีส โยเกิร์ต และผลิตภัณฑ์จากนม) อาหารสำหรับแบคทีเรีย (Prebiotics) ก็มีความสำคัญมากเช่นกัน Prebiotics ได้มาจากแหล่งอาหารจำพวกพืชผักผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง ทั้งไฟเบอร์ที่ละลายน้ำและที่ไม่ละลายน้ำ รวมทั้งแป้งที่ทนการย่อย (Resistant starch) Prebiotics เป็นแหล่งพลังงานและช่วยในการเจริญเติบโตช่วยให้ Probiotics แข็งแรงและมีปริมาณมากพอที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ

โดยสรุป ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์มีความรุดหน้ามาก สามารถตรวจวินิจฉัยปริมาณแบคทีเรียชนิดดีและไม่ดีในร่างกายจากอุจจาระ หรือเมือกในผนังลำไส้ โดยเฉพาะอย่าง วิเคราะห์ความสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ และความสัมพันธ์ระหว่างแบคทีเรียและการทำงานของส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หรือปัญหาสุขภาพ อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคหรือการส่งเสริมสุขภาพ โดยการเติมแบคทีเรียบางตัวเข้าไปร่างกายยังมีข้อจำกัด และอาจเกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ ซึ่งแบคทีเรียที่เติมเข้าไป (โดยการบริโภคจุลินทรีย์สังเคราะห์ หรือการปลูกถ่ายเชื้อจุลินทรีย์ในอุจจาระ) อาจจะถูกกลไกในร่างกายขับออกทั้งหมด หรือเข้าไปทำลายความสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ และอาจก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา

ที่มารูป : badgut.org

KYDSExCMG

กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม (วิสาหกิจเพื่อสังคม) โดย นายณกร อินทร์พยุง ประธานที่ปรึกษา และ ศาสตราจารย์วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ตกลงความร่วมมือโครงการวิจัยและพัฒนา แพลตฟอร์มให้บริการด้านสุขภาพแบบแม่นยำ (Precision Healthcare) ทั้งสองฝ่ายมีหน้าที่ ดังนี้

กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม

    • พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพแบบแม่นยำ ครอบคลุมด้านโภชนาการอาหาร ยารักษาโรค การดูแลสุขภาพองค์รวม การปรับพฤติกรรมสุขภาพ และการวางแผนดูแลสุขภาพ (Care plan)
    • วางแผนและดำเนินการเพื่อสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการขยายโอกาสเชิงพาณิชย์
    • ดำเนินกิจกรรมทางสังคมเพื่อส่งเสริมสุขภาพแบบแม่นยำและความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับประชากรไทย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มบุคคลด้อยโอกาส

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์

    • สนับสนุนงานวิจัยและการดำเนินการถอดรหัสพันธุกรรม วิเคราะห์ แปลผล และบริการให้คำปรึกษา ครอบคลุม โภชนพันธุศาสตร์ ยีนกับการออกกำลังกาย เภสัชพันธุศาสตร์ การตรวจจุลินทรีย์ในลำไส้ การตรวจคัดกรองโรคเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงในระดับดีเอ็นเอและเหนือระดับดีเอ็นเอ รวมทั้งการสนับสนุนการดำเนินการด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกัน
    • ร่วมวางแผนและสนับสนุนแพลตฟอร์มให้บริการด้านสุขภาพแบบแม่นยำ

Wellness program

เทศบาลเมืองแสนสุข ร่วมกับ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยบูรพา และกินอยู่ดี แพลตฟอร์ม (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพบุคลลากร ณ ศูนย์พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบรี โดยมีการเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากกระพุ้งแก้มเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ รวมทั้งมีการบรรรยายในหัวข้อ: การถอดรหัสพันธุกรรม (DNA) เพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพแบบแม่นยำ โภชนาการอาหารกับการมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี การประยุกต์ใช้แอปพลิเคชันกินอยู่ดี (KinYooDee) ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพ และกลยุทธ์การปรับพฤติกรรมสุขภาพและการสร้างนิสัยใหม่

นอกจากมีการบรรยาย และถาม-ตอบ ในโครงการยังมีกิจกรรมให้บุคคลากรได้รับคำปรึกษาด้านสุขภาพ KinYooDee Counseling ผ่านวีดีโอคอล รวมทั้งยังมีกิจกรรมสะสมคะแนนสุขภาพ (Health Score) เพื่อแลกเป็นของรางวัล ผ่านแอปพลิเคชัน KinYooDee